รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกอ้อย ของเกษตรกรรายย่อย ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Cost-benefit Analysis of Smallholder Farmers in Nong Phai Subdistrict, Dan Makham Tia District, Kanchanaburi |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวปาณิสรา อิ่มสมบัตร, นางสาวพัชรินทร์ สุนันทรัตน์, ผศ.ดร.ณัฐชามญฑ์ ศรีจำเริญรัตนา , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Panisara Aimsombat,
Phatcharin Sunantarat,
Natchamol Srichumroenrattana , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนเพาะปลูกอ้อยของเกษตรกรรายย่อย ในตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 คือ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกน้อยกว่า 20 ไร่ มีรายได้รวมจากการปลูกอ้อย 52,640.00 บาท/ไร่ กลุ่มที่ 2 คือ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูก 21-100 ไร่ มีรายได้รวมจากการปลูกอ้อย 57,645.71 บาท/ไร่ และกลุ่มที่ 3 คือ เกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูก 101 ไร่ขึ้นไป มีรายได้รวมจากการปลูกอ้อย 58,240.00 บาท/ไร่ ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 6 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกอ้อยรวมทั้งปี ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชาวไร่อ้อยทั้ง 3 กลุ่มมี กลุ่มที่ 1 มีต้นทุนรวม 40,096.92 บาท แบ่งเป็น ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 9,124.36บาท/ไร่ ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 30,972.56 บาท/ไร่ กลุ่มที่ 2 มีต้นทุนรวม 41,105.09 บาท แบ่งเป็น ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 9,989.38 บาท/ไร่ ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 31,115.71 บาท/ไร่ กลุ่มที่ 3 มีต้นทุนรวม 42,580.80 บาท แบ่งเป็น ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 10,510.80 บาท/ไร่ ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 32,070.00 บาท/ไร่ จึงสรุปได้ว่าเกษตรกรกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 ได้รับผลตอบแทนเฉลี่ย 12,543.38 บาท/ไร่, 16,540.63 บาท/ไร่ และ 15,659.20 บาท/ไร่ ตามลำดับ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ต้นทุน,ผลตอบแทน,อ้อย |
Abstract |
The purpose of this research is to analyze the cost and return on investment of sugarcane cultivation for small-scale farmers in Nong Phai Subdistrict, Dan Makham Tia District, Kanchanaburi farmers which were divided into 3 groups: first group consists of farmers with less than 32,000 square meters planting areas and 52,640.00 baht/rai total income from sugarcane cultivation; second group consists of farmers with 33,600-160,000 square meters planting areas and 57,645.71 baht/rai total income from sugarcane cultivation; third group consists of farmers with more than 161,600 square meters more planting areas and 58240.00 baht/rai total income from sugarcane cultivation. With a total of 6 samples in, the structured interview was used as a tool for this study to analyze the obtained investment and return on cost of sugarcane cultivation for one year. We found the result for 3 groups of sugarcane farmers. The first group farmers have a total cost of 40,096.92 baht, which consisted of an average fixed cost of 9,124.36 baht/rai and an average variable cost of 30,972.56 baht/rai. The second group farmers have a total cost of 41,105.09 baht, which consisted of an average fixed cost 9,989.38 baht/rai and an average variable cost of 31,115.71 baht/rai. The third group farmers have a total cost of 42,580.80 baht, which consisted of an average fixed cost of 10,510.80 baht/rai and an average variable cost of 32,070.00 baht/rai. Then we can conclude that the first, second and third group farmers get an average return on cost of 12,543.38 baht/rai, 16,540.63 baht/rai and 15,659.20 baht/rai, respectively.
|
Keyword |
Investment cost,Return,Sugar cane |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|