รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แนวทางการเพิ่มจำนวนลูกหนี้สินเชื่อหลักประกันเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี กรณีศึกษาธนาคารออมสิน ภาค 4
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The approach of increasing the number of collateral loan application to apply for negotiating the debt settlement in the government saving bank, Region 4 case study
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวนนทพร รู้สุกิจกุล ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nontaporn Rusukitkul ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
         การศึกษานี้เป็นการศึกษาแนวทางการเพิ่มจำนวนลูกหนี้สินเชื่อหลักประกันเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี กรณีศึกษาธนาคารออมสิน ภาค 4 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาปัญหาและเสนอแนวทางการเพิ่มจำนวนลูกหนี้สินเชื่อหลักประกันเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีของธนาคารออมสิน ภาค 4 เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณจะเก็บแบบสอบถามกับลูกหนี้ที่เป็นเป้าหมายโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีของธนาคารออมสิน ภาค 4 จำนวน 88 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ควบคุมและบริหารหนี้เขตประจวบคีรีขันธ์ และเขตสมุทรสาคร และลูกหนี้สินเชื่อหลักประกันเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีของธนาคารออมสิน ภาค 4 จำนวน 41 คน ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุที่ลูกหนี้สินเชื่อหลักประกันไม่เข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีของธนาคารออมสิน ภาค 4 เนื่องจากปัญหาลูกหนี้ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยหนี้ของธนาคารออมสิน ปัญหาจากกระบวนการไกล่เกลี่ยและปัญหาจากลูกหนี้ โดยมีทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด คือ กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) ได้แก่ ธนาคารออมสินควรประชาสัมพันธ์ถึงข้อดีและผลสำเร็จที่ได้จากการโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีของธนาคารออมสิน เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้ลูกหนี้เกิดความสนใจเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีของธนาคารออมสิน
 คำสำคัญภาษาไทย แนวทาง,สินเชื่อ,ธนาคารออมสิน
 Abstract
          This study seeks to investigate the causes and provide solutions in order to increase the number of applicants for the debt settlement negotiation program before filing a lawsuit of Government Savings Bank (GSB) region 4. The questionnaires were delivered to 88 targeted debtors, together with in-depth interview with 41 people of executives, staff members of the debt control and management center, and collateral loan debtors who engaged in the program. Statistics used in this paper include percentage, mean, and standard deviation. The results showed that the primary reasons why debtors chose not to engage in the program were lacking of understanding about debt settlement, the debt settlement procedure, as well as their personal situation. The GSB was advised to increase program publicity by highlighting its advantages and successes in order to gain debtor interest in taking part in the program.
 Keyword Guideline,Loan,Government saving bank
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม