รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์)

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Developing a model community for elderly health with sustainable folk wisdom
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.ณิชาภัทร มณีพันธ์ , อ.ดร.ณรงค์กร ชัยวงศ์, อ.นธภร วิโสรัมย์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nichapat Maneephan , Narongkorn Chaiwong, Nataporn Wesoram,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนในจังหวัดบุรีรัมย์ในเขตเทศบาลเมืองชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ ดำเนินการวิจัยมี 4  ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุและบริบทชุมชนของผู้สูงอายุ ในตำบลชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลชุมเห็ด จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย ที่พัฒนาขึ้นโดยกลุ่มฟื้นฟูสรรถภาพสมองของไทย (2536) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน ในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์  กลุ่มตัวอย่าง เป็นตัวแทนภาคีเครือข่าย 3 กลุ่ม จำนวน 29 คน ที่เข้าร่วมประชุมสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลมาหลอมเป็นร่างชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์   กลุ่มตัวอย่าง  เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านยั่งยืนในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) รูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนในชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจและแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า
            1. สภาพปัจจุบันของผู้สูงอายุกับภาวะสมองเสื่อมในตำบลชุมเห็ด จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ผู้สูงอายุมีอาการหลงลืมบ่อย คิดเลขไม่ได้ จำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ค่อยได้ ร้อยละ 51.16 สงสัยภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 6.60 ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ร้อยละ 94.18 มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 76.03
            2. การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน ประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ (Health) 2) การมีส่วนร่วม (Participation) 3) การมีหลักประกันและความมั่นคง (Security) 
            3. การพัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 (S.D = 0.50)
            4. กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบชุมชนต้นแบบสุขภาพผู้สูงอายุด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านแบบยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.61 (SD =  0.49)
 
 คำสำคัญภาษาไทย ชุมชนต้นแบบสุขภาพ ,ผู้สูงอายุ,ภูมิปัญญาชาวบ้าน
 Abstract
This research is a research and development research. The objective is to develop a model community for elderly health with sustainable folk wisdom in Buriram Province in Chum Het Municipality. Buriram Province The research was conducted in 4 steps as follows: Step 1 To analyze the current condition of the elderly's health and the community context of the elderly. in Chum Het Subdistrict Buriram Province The sample consisted of 258 elderly people in Chum Het Sub-district. It is a general information inquiry form. and the Thai brain performance test developed by the Thai Brain Rehabilitation Group (1993). Data were analyzed using basic statistics. Step 2: Develop a model community model for elderly health with sustainable folk wisdom in the community in Buriram Province. sample group Represented 3 groups of network members, totaling 29 people who attended the group discussion meeting. and use the data to fuse into a series of activities. Step 3: Experiment with the model community model for elderly health with sustainable folk wisdom in the community. Buriram Province sample group There are 30 elderly people aged 60 years and over. Step 4: Evaluate and improve the model community model for elderly health with sustainable folk wisdom in the community. Buriram Province The research tools consisted of: 1) General Information Questionnaire 2) Community model, elderly health model with sustainable folk wisdom in the community. Buriram Province 3) satisfaction assessment form and behavioral observation form Analyze the data using basic statistics. The results showed that
            1. Current condition of the elderly and dementia in Chumfut Sub-district Buriram Province found that the elderly had frequent forgetfulness, unable to calculate numbers, rarely remembering recent events, 51.16 percent suspected dementia, 6.60 percent, most of them had no knowledge of dementia among the elderly. Hundreds 94.18 each had a congenital disease High blood pressure, diabetes, heart disease, stroke which is a risk factor for dementia 76.03%
            2. Developing a model community for elderly health with sustainable folk wisdom consists of 3 sub-activities: 1) Health 2) Participation. (Participation) 3) Having security and stability (Security)
            3. Developing a model community model for elderly health with sustainable folk wisdom be appropriate possibility and the overall usefulness is at the highest level with an average of 4.70 (S.D = 0.50)
            4. The sample group had the highest level of satisfaction with the development of the elderly health model community model with sustainable folk wisdom at 4.61 (SD = 0.49).
 
 
 Keyword model health community,elderly,folk wisdom
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์)
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม