รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์)
ชื่อบทความภาษาไทย |
แอปพลิเคชันให้ความรู้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Application HDS |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายนายพชร นาคยา , นายปฐม ฤทธิเดช, นายยรรยง บุ้งทอง, นายสุราวุฒิ กลางประพันธ์, นางสาวรินรดา จรสัมฤทธิ์, นางสาววนัสนันท์ สุระสินธุ์, นางสาววราลักษณ์ โยชน์ด้วง, ผศ.วริยา จันทร์ขำ, อ.พนิตนันท์ แซ่ลิ้ม, อ.กิติกร พรมา , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Phachara Nakya,
Patom Rittidet,
Yanyong Bungthong,
Surawut Klangprapan,
Rinrada Chonsamrit,
Wanutsanan Surasin,
Waralak Yotduang,
wariya chankam,
Panittanan Sealim,
Kitikorn Pornma , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
“แอปพลิเคชันให้ความรู้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” เป็นการพัฒนานวัตกรรมในรายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อให้ความรู้ประชาชนในชุมชนและแก้ปัญหาเรื่องของมีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื่อรังซึ่งมีอัตราผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในชุมชน หลังจากอาจารย์ผู้สอนและอาจารย์นิเทศในรายวิชาได้นำนโยบายของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในเรื่องของการสนับสนุนให้นักศึกษาได้เป็นผู้นำริเริ่มความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรอบรู้ทางสุขภาพ โดยอาศัยหลักการคิดขั้นตอนการทำงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 (Plan ) การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 (Do ) การปฏิบัติตามแผน ขั้นตอนที่3 (Check ) การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ 4 (Action ) การแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการทดสอบแอปพลิเคชันกับกลุ่มเป้าหมาย คือผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลสระกะเทียม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน
ผลการใช้นวัตกรรม “แอปพลิเคชันให้ความรู้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด ร้อยละ 80 ระดับมาก ร้อยละ 15 และระดับปานกลาง ร้อยละ 5 ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ: พัฒนาแอปพลิเคชันที่ให้ความรู้เรื่องอาหารที่เหมาะสมกับโรค วิเคราะห์ผลความผิดปกติของผู้ป่วยได้ และการนำผลการวิเคราะห์เชื่อมต่อกับการโทรแจ้งสายด่วนฉุกเฉิน รวมไปถึงการต่อยอดนวัตกรรมไปสู่งานวิจัยต่อไป
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
แอปพลิเคชัน ,ความรู้,กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง |
Abstract |
“Application HDS” is an innovation development in the community nursing practice course, Faculty of Nursing. Nakhon Pathom Rajabhat University To educate the people in the community and solve the problem of risky behaviors that affect chronic non-communicable diseases, which have continually increased morbidity and mortality rates in the community. After instructors and supervisors in the course have adopted the policy of the Faculty of Nursing. Nakhon Pathom Rajabhat University In terms of supporting students to be leaders in creativity and innovation in health. To promote the health of people in the community for a better quality of life. knowledgeable about health. By using the principle of thinking the work process is divided into 4 steps, namely, step 1 (Plan), planning, step 2 (Do), implementation of the plan, step 3 (Check), performance check, step 4th (Action) Problem solving, which is testing the application with the target group. is the elderly in the community Sakathiam Subdistrict Mueang Nakhon Pathom District Nakhon Pathom Province, 40 people
The innovation results of " Application HDS" found that the overall satisfaction was at the highest level of 80 %, high level of 15 %, and moderate level of 5 %, respectively.
Suggestion: Develop an application that provides knowledge about appropriate food for the disease. Able to analyze abnormal results of patients and connect the results of the analysis to a call to the emergency hotline Including the extension of innovation to further research.
|
Keyword |
Application,Knowledge,Non-communicable disease group |
กลุ่มของบทความ |
การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์) |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|