รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์)

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Factors associated Food Safety Behaviors Among Lactating Mothers
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวนนธิชา ชมชื่น , อื่นๆนัฎฐริกา ทองคำ, อื่นๆจีราวรรณ ทองเจียม, อื่นๆณัฐนรี จี่พิมาย, อื่นๆบัณฑิตา เอี่ยมสอาด, อื่นๆรัติญา ทองจันทร์, อื่นๆอัจฉรา อาการักษ์, อื่นๆวายุรี ลำโป,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nonticha Chomchuen , - -, - -, - -, - -, - -, - -, - -,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย
ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
 
นัฎฐริกา ทองคำ1, นนธิชา ชมชื่น1 , จีราวรรณ ทองเจียม1 , ณัฐนรี จี่พิมาย1, บัณฑิตา เอี่ยมสอาด1,
รัติญา ทองจันทร์1,  อัจฉรา อาการักษ์1 และวายุรี ลำโป2
1นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
 
     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย ทัศนคติ เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย การรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย และพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย 2) ศึกษาปัจจัยที่ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรักษาความสะอาด 2) การแยกอาหารสุกดิบ
3) การปรุงสุก 4) การรักษาอาหารอุณหภูมิที่พอเหมาะ 5) การใช้น้ำและวัตถุดิบที่ปลอดภัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ 2) แบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย 3) แบบวัดทัศนคติเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย 4) แบบวัดการรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย 5) แบบวัดระดับพฤติกรรมที่เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 127 ราย ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.88, 0.73, 0.74 และ 0.84 ตามลำดับ และความเชื่อมั่นของเครื่องมือทุกชุด เท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบเปียร์แมน
     ผลวิจัย พบว่า ความตระหนักเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 22.2 คะแนน (S.D.=3.22) ทัศนคติเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 18.84 คะแนน (S.D.=2.41) การรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 20.17 คะแนน (S.D.=2.87) พฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัย จัดอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 15.27 คะแนน (S.D.=2.56) จากสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ความตระหนัก ทัศนคติ และการรับรู้ความเสี่ยงเรื่องอาหารปลอดภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.578, p <.05 , r =.304, p <.05 และ r =.455, p <.05 ตามลำดับ)
 
ข้อเสนอแนะ : ควรมีการศึกษาปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่หรือไม่ ควรมีการจัดทำโปรแกรมให้สุขศึกษาเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
 
คำสำคัญ : อาหารปลอดภัย ความตระหนัก ทัศนคติ การรับรู้ความเสี่ยง พฤติกรรม และมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
 คำสำคัญภาษาไทย อาหารปลอดภัย,พฤติกรรม,มารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยนมแม่
 Abstract
Factors associated Food Safety Behaviors Among Lactating Mothers
Nattharika Tongkham1, Nonticha Chomchuen1, Jeerawan Thongjiam1, Natnaree Jeepimai1,
Banthita Aemsaart1 , Rattiya Thongjan1 , Autchara Agarak1 and Wayuree Lumpo2
 
1Student Faculty of Nursing, Suratthani Rajabhat University
2Lecturer Faculty of Nursing, Suratthani Rajabhat University
 
Abstract
This research aimed to study 1) the awareness, attitude, and perceived risks of food safety including food safety behavior. 2) to study the relationship between awareness, attitude, and perceived risks of food safety with food safety behaviors among lactating mothers, were divided into 5 aspects: 1) Cleanliness 2) Separation of cooked and raw food 3) Cooking 4) Maintaining appropriate food temperature 5) Using water and safe ingredients. The research instruments were 1) a questionnaire on personal information of breastfeeding mothers; 2) a Food Safety Awareness Test 3) a Food Safety Attitude Test 4) a Food Safety Perceived risks Test 5) a Food Safety Behavior Scale. There are 127 subjects of this study, including breastfeeding mothers in Surat Thani province from January to February 2023. Found that content validity index was 0.88, 0.73, 0.74 and 0.84 and reliability every research instruments was 1 Data were analyzed by using descriptive statistics and the Spearman rank correlation  
The results of this study revealed that awareness of food safety ranked at the highest level, was 22.2 points (S.D.=3.22). The attitude about food safety ranked at a high level, was 18.84 points (S.D.=2.41). The perceived risk of food safety ranked the highest level, was 20.17 points (S.D.=2.87). The food safety behavior classified as a moderate level, was 15.27 points (S.D.=2.56). According to spearman rank correlation statistics, awareness, attitude, and risk perception of food safety, there was a moderate positive correlation with food safety behaviors in breastfeeding mothers P<.05 (r=.578, r=.304, and r=.455, respectively).
 
Recommendations: There should be a study of the relationship between basic factors with food safety behaviors among breastfeeding mothers. There should produce a program for health education about food safety in breastfeeding mothers.
 
Keywords: food safety, awareness, attitude, risk perception, behavior, and breastfeeding mothers
 Keyword Food safety,Lactating Mothers,Behavior
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์)
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม