รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์)
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ในผู้ป่วยวิกฤตบาดเจ็บที่สมอง หอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาทและสมอง โรงพยาบาลนครปฐม |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Development of Clinical Practice Nursing Guidelines for Weaning of Mechanical Ventilation among Critically Ill Patients with Traumatic Brain Injury, Neurosurgery and Brain Intensive Care Unit, Nakhon Pathom Hospital |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.วรางคณา สายสิทธิ์ , อื่นๆปิยวะดี ลีฬหะบำรุง, ศ.ดร.ยุพา พิมพ์ดี, อื่นๆนันทวัน ชั้นงาม, ศ.ดร.กชพรรณ พรมเสนสา, อื่นๆประภัสสร ศรีอุราวัลย์, อื่นๆเสาวภา ทองศิริ, อื่นๆอารยา ม่วงปั่น, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Warangkana Saisit ,
- -,
- -,
- -,
- -,
- -,
- ,
- -, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตบาดเจ็บที่สมองในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาทและสมอง โรงพยาบาลนครปฐม ตามกรอบแนวคิดในการพัฒนาแนวปฏิบัติคือแนวทางสภาวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดประเด็นปัญหาที่แก้ไข 2) กำหนดทีมพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 3) กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขตและผลลัพธ์ 4) สืบค้นและประเมินคุณค่าหลักฐานเชิงประจักษ์ 5) ยกร่างแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก 6) ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 7) ทดลองใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการพยาบาล
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตบาดเจ็บที่สมองในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาทและสมอง โรงพยาบาลนครปฐม ประกอบด้วย 2 หมวด คือ การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และการประเมินอาการขณะหย่าเครื่องช่วยหายใจ ผ่านการตรวจความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน เท่ากับ 1.0, 1.0 และ 1.0
2) ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ของแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตบาดเจ็บที่สมองในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมประสาทและสมอง โรงพยาบาลนครปฐม พบว่า ความเป็นไปได้ของการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 100 (10 คน) ได้แก่ ความชัดเจนของข้อเสนอแนะในแนวปฏิบัติ ความเหมาะสมกับหน่วยงาน ความประหยัดและลดต้นทุน แนวปฏิบัติสามารถแก้ปัญหาและเกิดผลดีต่อผู้รับบริการ มีความเป็นไปได้ในการใช้ในหน่วยงาน และในระดับปานกลาง ร้อยละ 80 (2 คน) ได้แก่ ความสะดวกและความง่ายต่อการนำไปใช้ สำหรับความพึงพอใจของการนำไปใช้อยู่ระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 4.30 (SD 0.78)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ,การหย่าเครื่องช่วยหายใจ,ผู้ป่วยวิกฤตบาดเจ็บสมอง |
Abstract |
Abstract
This action research aimed to develop clinical nursing practice guidelines for weaning mechanical ventilation among critically ill patients with traumatic brain injury in the Neurosurgery and Brain Intensive Care Unit at Nakhon Pathom Hospital. The guidelines followed the seven-step conceptual framework for developing guidelines outlined by the National Health and Medical Research Council [NMRC], 1999. This framework included 1) defining the problem to be solved, 2) establishing a development team, 3) defining objectives, scope, and outcomes, 4) searching and evaluating empirical evidence, 5) drafting the clinical nursing practice guidelines, 6) expert review, and 7) conducting trials of the guidelines.
The results were revealed as follows.
1) The clinical practice nursing guidelines for weaning of mechanical ventilation among critically ill patients with traumatic brain injury in the Neurosurgery and Brain Intensive Care Unit at Nakhon Pathom Hospital comprised two categories: evaluating readiness for weaning of mechanical ventilation and evaluating symptoms during the weaning process. The guidelines underwent content validation index by three experts with scores of 1.0, 1.0, and 1.0, respectively.
2) The feasibility of implementing, it was determined that the guidelines proposed for the Neurosurgery and Brain Intensive Care Unit at Nakhon Pathom Hospital are highly feasible, with a 100% approval rating from 10 participants. This included the clarity of the recommendations, suitability for the agency, cost savings, problem-solving capabilities, and positive impact on service recipients. Additionally, the guidelines were found to be moderately convenient and easy to use by 80% of the respondents. Overall, the satisfaction level with the implementation of these guidelines was very high, with an average score of 4.30 (SD 0.78).
|
Keyword |
development of clinical practice nursing guidelines,weaning of mechanical ventilation,critically ill patients with traumatic brain injury |
กลุ่มของบทความ |
การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาลศาสตร์) |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|