รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การเรียนรู้และการจัดการขยะของนักเรียนในโรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ (ชิตประชาสรรค์) จังหวัดฉะเชิงเทรา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Learning and Garbage Management of Students in Wat Samet Nuea School (Chit Prachasan), Chachoengsao Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.จงภร มหาดเล็ก ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Jongporn Mahadlek ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
วิกฤตการณ์ขยะเป็นปัญหาใหญ่ของโลกและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ระบบการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทยที่ไม่เพียงพอทำให้มีขยะสะสมเกิดขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจาก มนุษย์ ขาดระบบการจัดการที่ดี มีพื้นที่รองรับปริมาณขยะน้อย รวมถึงขาดจิตสำนึก การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยจึงควรเริ่มจากการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะมูลฝอยและการปลูกจิตสำนึกที่ดีกับชุมชน ซึ่งเป็นการลดขยะได้ตั้งแต่ต้นทาง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความรู้ความเข้าใจการจัดการขยะของนักเรียนในโรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ ก่อนและหลังการอบรม 2) ประเมินผลการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ก่อนและหลังการฝึกอบรม 3) ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดอบรมให้ความรู้  ประชากรที่ใช้เป็นนักเรียนของโรงเรียนวัดเสม็ดเหนือ จำนวน 200 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงใช้นักเรียนชั้น ป.4-6 และชั้น ม.1-3 จำนวน 140 คน ในปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ชุดถังขยะสีแบบคัดแยกขยะ (สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง) แบบบันทึกข้อมูลการทิ้งขยะรายวัน แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะ และแบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียนในการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการอบรม มีนักเรียนทิ้งขยะลงถังได้ถูกต้องและไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 52.35 และ 47.65 ตามลำดับ โดยนักเรียนทิ้งขยะลงถังขยะทั่วไปได้ถูกต้องมากที่สุด รองลงมาเป็นถังขยะรีไซเคิลและถังขยะเปียก คิดเป็นร้อยละ 49.94, 35.23 และ 26.05 ตามลำดับ ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะก่อนและหลังการอบรม พบว่านักเรียนชั้น ป.4-6 ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม 8.64 (S.D.=1.85) และหลังการอบรม ได้คะแนนเฉลี่ย 15.71 (S.D.=1.51) มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนชั้น ม.1-3 ได้คะแนนเฉลี่ยก่อนอบรม 8.87 (S.D.=1.69) และหลังการอบรม ได้คะแนนเฉลี่ย 16.24 (S.D.=1.35) มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่าหลังการอบรมนักเรียนทิ้งขยะลงถังได้ถูกต้องและ
ไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 80.15 และร้อยละ 19.85 ตามลำดับ โดยนักเรียนทิ้งขยะลงในถังขยะรีไซเคิล ถังขยะทั่วไป และถังขยะเปียก คิดเป็นร้อยละ 85.63, 79.94 และ 72.89 ตามลำดับ ระดับความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดอบรมการจัดการขยะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.40) ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง
ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาในกำจัดขยะที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ อีกทั้งเป็นการปลูกฝังทัศนคติในการจัดการขยะที่ถูกต้องให้กับนักเรียนอีกด้วย
 
 คำสำคัญภาษาไทย การเรียนรู้ ,การจัดการขยะ ,นักเรียน,ขยะมูลฝอย
 Abstract
Wastes crisis is a major problem in the world and an important cause of global warming. Thailand's solid waste management system is inadequate, resulting in accumulated waste. The amount of solid waste tends to increase steadily that caused by human. Management of solid waste problems should be initiated from providing knowledge and understanding of solid waste management and cultivating good consciousness in waste separation, which could reduce waste from the origin. The purposes of this research were 1) to assess the knowledge and understanding of garbage management of students at Wat Samet Nuea school before and after the training 2) to evaluate the results of waste separation before disposal before and after the training 3) to measure opinions of students for the waste management training. The population used was 200 students of Wat Samet Nuea school. The sample was a purposive selection method using 140 students in primary school (P4-6) and junior high school (S1-3) of the academic year 2018. The tools used a set of colored bins (green, blue and yellow), a daily garbage disposal record form, a test of knowledge and understanding of waste management and an assessment form of students’opinions on waste management training. The results presented that before the training, students correctly and incorrectly put waste into the bins about 52.35% and 47.65%, respectively. Students littered waste into the general bin, recycling bin and wet bin 49.94%,35.23% and 26.05 %, respectively. Assessment results of knowledge of waste management of students before and after the training showed that the average scored before and after the training of P4-6 students was 8.64 (S.D.=1.85) and 15.71 (SD=1.51), respectively
(p< 0.01). The average scored before and after the training of S1-3 students was 8.87 (S.D.=1.69) and 16.24 (S.D.=1.35), respectively (p<0.01.). After the training, students correctly and incorrectly littered waste into the bins about 80.15% and 19.85%, respectively. Students littered waste into the recycling bin general bin and wet bin about 85.63%, 79.94% and 72.89%, respectively. Level of opinions of students on waste management training was high (x̅=4.40). Therefore, educating and understanding the correct waste separation at the origin could reduce waste disposal problems in the future. It also cultivates the right attitude in waste management among students.
 Keyword Learning ,Garbage management ,Students,Waste
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม