รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการออกซิไดซ์ของอนุมูลอิสระของออกซิเจนที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (ROS): เทคโนโลยีไมโครบับเบิ้ลขนาดเล็ก ที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่างกัน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The comparison of oxidation efficiency of reactive oxygen species (ROS): Pilot scale of microbubble technologies with oxygen concentration
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.อรรถพล เชยศุภเกตุ , ผศ.ดร.วิเชียร ศิริพรม, นางสาวอภิรดี ยิ่งประยูร,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Attapol Choeysuppaket , Wichian Siriprom, Apiradee Yingprayoon,
 บทคัดย่อภาษาไทย
จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือเพื่อเปรียบเทียบผลออกซิเดชันของอนุมูลอิสระของออกซิเจน (reactive oxygen species ; ROS) ที่เกิดจากก๊าซโอโซน ซึ่งเป็นก๊าซที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา โดยก๊าซโอโซนถูกสร้างขึ้นจากเครื่องกำเนิดพลาสมาแบบไดอิเล็กทริคแบริเออร์ดิสชาร์จ (DBD) ภายใต้สภาวะของการป้อนก๊าซออกซิเจน และอากาศ โดยสามารถวัดความเข้มข้นของก๊าซโอโซน ที่ผลิตได้จากวิธีไอโอโดเมตริก จากนั้นเมื่อพ่นก๊าซโอโซนลงไปในน้ำ ด้วยหัวทรายชนิดไมโครบับเบิ้ล เพื่อสร้างฟองอากาศขนาดเล็กจากก๊าซโอโซน จะได้ผลผลิตเป็นอนุมูลอิสระของออกซิเจน (ROS) และเมื่อทำการวัดศักยภาพการเกิดอนุมูลอิสระของออกซิเจน (ROS) จะสามารถวัดได้จากความสามารถในการออกซิไดซ์หรือรีดิวซ์สารอื่น (Oxidation reduction potential ; ORP) โดยผลการศึกษาพบว่าก๊าซโอโซนที่ผลิตภายใต้สภาวะของการป้อนก๊าซออกซิเจนมีความเข้มข้นสูงกว่าการป้อนด้วยอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าความเข้มข้นของก๊าซโอโซนจะเพิ่มขึ้นตามอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น และมีความเข้มข้นสูงสุด 15.77 มก./ลิตร เมื่อป้อนด้วยก๊าซออกซิเจน และ 4.70 มก./ลิตร สำหรับสภาวะของการป้อนด้วยอากาศ สำหรับค่าความสามารถในการออกซิไดซ์หรือรีดิวซ์สารอื่น (ORP) สามารถใช้บ่งชี้การละลายของก๊าซโอโซนในน้ำ จากผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพการเกิดออกซิเดชันของอนุมูลอิสระของออกซิเจน (ROS) ที่ผลิตจากก๊าซโอโซนภายใต้สภาวะของการป้อนก๊าซออกซิเจนออกซิเจน มีค่าสูงกว่าก๊าซโอโซนที่ผลิตภายใต้สภาวะของการป้อนจากอากาศ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าความสามารถในการออกซิไดซ์หรือรีดิวซ์สารอื่น (ORP) จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเข้าสู่สภาวะสมดุลหลังจากผ่านไป 15 นาที ซึ่งบ่งชี้ว่าน้ำมีศักยภาพในการเกิดออกซิเดชันสูงสุดที่ประมาณ 821 mV สำหรับการผลิตด้วยก๊าซโอโซนภายใต้สภาวะของการป้อนก๊าซออกซิเจน และ 569 mV สำหรับการผลิตจากก๊าซโอโซนภายใต้สภาวะของการป้อนอากาศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าก๊าซโอโซนสามารถเป็นสารออกซิแดนท์ ที่มีประสิทธิภาพสูงทั้งในสถานะก๊าซ (ก๊าซโอโซน) และของเหลว (อนุมูลอิสระของออกซิเจน (ROS)) โดยจะมีประสิทธิภาพในการเกิดออกซิเดชันสูงสุดเมื่อผลิตจากก๊าซออกซิเจนและอัตราการไหลที่เหมาะสม
 คำสำคัญภาษาไทย โอโซน,กระบวนการออกซิเดชั่นชั้นสูง (AOPs),ศักยภาพการเกิดออกซิเดชัน-รีดักชัน (ORP)
 Abstract
The purpose of this study is to compare the efficiency of various oxidants, including reactive oxygen species (ROS). Ozone is a highly reactive gas that produces ROS as a byproduct in its chemical reactions. Ozone gas was generated using a dielectric barrier discharge (DBD) plasma generator under different gas source conditions such as air or oxygen. The ozone concentration was measured by the iodometric method, and then the ozone gas was injected into the water with a stone diffuser to generate ozone microbubbles by cavitation. The yield of ROS was measured by oxidation-reduction potential (ORP). The results indicate that the ozone yield from the oxygen feed gas source was higher than that from the air feed gas source. The ozone yield increased with increasing flow rate and reached a maximum ozone concentration of about 15.77 mg/L for oxygen and 4.70 mg/L for air as the working gas. The ORP values were reported to have excellent fundamental characteristics for ozone dissolution and oxidation efficiency of ROS. The results show that the ORP yield of ozone generated by oxygen feed gas source was higher than that from the air feed gas source. In addition, the ORP value increased with increasing treatment time until an equilibrium state was reached after 15 minutes, indicating that the water had the highest oxidation potential of about 821 mV for oxygen and 569 mV for air. In summary, this study highlights the potential benefits of utilizing ozone as an efficient oxidant in both gaseous (ozone gas) and liquid (reactive oxygen species) phases. It specifically emphasizes the critical role of generating ozone and ROS from an oxygen-feeding gas source and maintaining an optimal flow rate to maximize its potential benefits.
 Keyword Ozone,Advanced Oxidation Processes (AOPs) ,Oxidation-reduction potential (ORP)
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม