รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลของกรดที่มีต่อการเตรียมนาโนซิลิกาจากชานอ้อย
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Effect of Acids on Sugarcane Bagasse Nanosilica Preparation
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.ธนัญญา เสาวภาคย์ , นางสาวธนพร สกุณี , นายจิรบูรณ์ ตลุ่มพุก , นางสาวปภาวดี คชศิลา , นางสาวพินทุ์สุดา จันทร์แดง , นางสาวรสสุคนธ์ มาลัยทอง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Thanunya Saowapark , Thanaporn Sakunee , Jiraboon Talumpook, Papawadee Kochsila, Pinsuda Chandeang, Rossukon Malaithong ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมนาโนซิลิกาจากชานอ้อยที่ไม่ปรับสภาพและปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริกด้วยวิธีการตกตะกอน โดยการเตรียมซิลิกาเริ่มจากการนำชานอ้อยมาทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก จากนั้นนำมาเผาที่อุณหภูมิ 700 oC ได้เป็นเถ้าชานอ้อย จากนั้นนำเถ้าจากชานอ้อยมาเตรียมนาโนซิลิกา จากผลวิเคราะห์ด้วย X-Ray Fluorescence Spectrometer (XRF) พบว่ากรดไฮโดรคลอริกส่งผลต่อปริมาณซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) หรือซิลิกาที่มีอยู่ในเถ้าชานอ้อยและนาโนซิลิกาจากเถ้าชานอ้อย โดยพบว่าเถ้าชานอ้อยที่ไม่ปรับสภาพมีปริมาณซิลิการ้อยละ 57 ในขณะที่ปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริกแล้วมีปริมาณซิลิการ้อยละ 79 เมื่อเตรียมนาโนซิลิกาจากชานอ้อยที่ไม่ปรับและปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริกโดยวิธีการตกตะกอนพบว่ามีปริมาณซิลิการ้อยละ 70 และ 77 ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามจากผลของ X-ray diffractometer (XRD) พบว่านาโนซิลิกาจากชานอ้อยยังคงมีความอสัณฐานเช่นเดียวกับซิลิกาเกรดการค้า เมื่อวิเคราะห์ลักษณะสัณฐานวิทยาด้วย Scanning electron microscope (SEM) พบว่านาโนซิลิกาที่เตรียมได้จากเถ้าชานอ้อยที่ไม่ปรับและปรับสภาพด้วยกรดไฮโดรคลอริกมีขนาดอนุภาคใกล้เคียงกัน
 คำสำคัญภาษาไทย ชานอ้อย ,ซิลิกา ,อนุภาคนาโน
 Abstract
The objective of this research was to preparation of nanosilica from bagasse by untreated and treated with hydrochloric acid (HCl) using precipitation method. Initially, the the bagasse was treated with HCl and all of bagasse (treated and untreated bagasse) were calcined at 700 oC. The bagasse ash was obtained and then was used to prepare nanosilica . From the x-Ray Fluorescence Spectrometer (XRF) results, it was found that HCl affected on silicondioxide or silica content in both sugarcane bagasse ash and sugarcane bagasse nanosilica. Untreated sugarcane bagasse ash showed 57 % of silica content whereas 79 % of silica contained in sugarcane bagasse ash treated with HCl. Then, nanosilica prepared from both untreated and HCl treated sugarcane bagasse ash with precipitation method gave 70 and 77 % of SiO2, respectively. However, x-ray diffractometer (XRD) results clearly observed that both nanosilica  from sugarcane bagasse ash were amorphous structure similar to commercial silica. Finally, all of silica morphology were analyzed using scanning electron microscope (SEM). It was found that, nanosilica obtained from untreated and treated bagasse with HCl displayed similar particle sizes.
 Keyword Bagasse,Silica,Nanoparticle
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม