รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การสังเคราะห์และการวิเคราะห์คุณสมบัติของแก้วซิงค์แบเรียมสตรอนเทียมไนโอเบียมบอโรเทลลูไรท์ที่เจือด้วย Sm2O3 แบบใหม่สำหรับการใช้งานทางแสง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Synthesis and Characterization of Novel Sm2O3-Doped Zinc Barium Strontium Niobium Boro-Tellurite Glass for Optical Applications
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) รศ.ดร.ภัทรวจี ยะสะกะ, นายวีรภัทร ธันยาภิรักษ์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Patarawagee yasaka, Wiraphat Thanyaphirak ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
แก้วซิงค์แบเรียมสตรอนเทียมไนโอเบียมบอโรเทลลูไรท์ที่เจือด้วยซาแมเรียมออกไซด์ ถูกเตรียมขึ้น จากองค์ประกอบ (30-x) TeO2 –30B2O3 –10ZnO –10BaO –10SrO –10Nb2O5 –xSm2O3 เมื่อ x (คือ 0.00 0.05 0.10 0.50 1.00 และ 1.50 เปอร์เซ็นต์โมล) ด้วยเทคนิคการหลอมที่อุณหภูมิ 1,150 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1.5 ชั่วโมง และปล่อยให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้ทำการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ทางแสง และทางลูมิเนสเซนซ์ของระบบแก้วซิงค์แบเรียมสตอนเทียมไนโอเบียมบอโรเทลลูไรท์ เพื่อให้เข้าใจบทบาทของ Sm2O3 ผลที่ได้พบว่าค่าความหนาแน่นและปริมาตรเชิงโมล มีผลที่ไม่เป็นแนวโน้ม กล่าวคือ การเจือด้วย Sm2O3 ลงไปในแก้วชนิดนี้ไม่ส่งผลต่อความหนาแน่นและค่าปริมาตรเชิงโมล ซึ่งมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 3.8221 ± 0.0045 ถึง 3.8879 ± 0.0024 g/cm3 และค่าปริมาตรเชิงโมล อยู่ระหว่าง 34.5534 ถึง 35.8410 cm3/mol ค่าดัชนีหักเหจะเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของซาแมเรียมออกไซด์โดยค่าดัชนีหักเหอยู่ระหว่าง 1.629 ถึง 1.771 เมื่อวัดสเปกตรัมการดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นที่ 480 ถึง 2,500 nm ของซาแมเรียมออกไซด์ พบว่า ค่าความเข้มของพีคการดูดกลืนแสงสูงขึ้นตามปริมาณความเข้มข้นของซาแมเรียมออกไซด์ นอกจากนี้ได้ตรวจสอบคุณสมบัติการเปล่งแสงของ Sm3+ ที่เจือในระบบแก้วซิงค์แบเรียมสตรอนเทียมไนโอเบียมบอโรเทลลูไรท์ จากการกระตุ้นด้วยความยาวคลื่น 403 nm พบพีคการเปล่งแสงที่ความยาวคลื่น 563 598 644 และ 705 nm และจากการวิเคราะห์มาตรฐานสี CIE 1931 พบว่า แสงที่เปล่งออกมาจากแก้วชนิดนี้เป็นแสงสีส้ม
 คำสำคัญภาษาไทย บอโรเทลลูไรท์,ซาแมเรียม,ลูมิเนสเซนซ์
 Abstract
A series of zinc barium Strontium niobium borotellurite glasses doped with Samarium Oxide glasses of the compositions (30-x)TeO2 –30B2O3 –10ZnO –10SrO - 10BaO –10Nb2O5 – x Sm2O3 (where x = 0.00 0.10 0.50 1.00 1.50 mol%) have been synthesized by conventional melt quenching technique at 1150 degree celsius for 1.5 hours. This research studies on to the physical, optical and luminescence to understand the role of borotellurite glasses doped with properties samarium oxide glasses systems; the results shown that the density and molar volume no trend as Sm2O3 doped in glasses system on effect to that result, the values of density between 3.8221 ± 0.0045 to 3.8879 ± 0.0024 g/cm3 and the values of molar volume between 34.5534 to 35.8410 cm3/mol. The refractive indices were increased with increasing of Sm2O3 concentration, the values of refractive between 1.6290 to 1.7710. The optical absorption spectra of glasses were measured in the wavelengths range of 480 - 2,500 nm. The intensity of absorption increased with increasing of Sm2O3 content. In addition, the luminescence properties of Sm2O3 doped zinc barium Strontium niobium borotellurite glasses stem were carried out using excitation wavelengths of 403 nm. The luminescence peaks around 563, 598, 644 and 705 nm were observed. The analysis of CIE 1931 chromaticity showed that the light emitting from this glass is orange.
 Keyword Borotellurite,Samarium,Luminescence
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม