รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาวัสดุแก้วโดยใช้ขี้เถ้าไม้ยางพาราจากโรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดยะลา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Development of glass materials using rubber wood ashes from a biomass power plant in Yala Province |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.วัชรินทร์ ราชนิยม , นายสมบูรณ์ คืนชัยภูมิ, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Watcharin Rachniyom ,
Sombun Khuenchaiphum, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวัสดุแก้วโดยใช้ขี้เถ้าไม้ยางพาราจากโรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดยะลา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของขี้เถ้าไม้ยางพาราจากโรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดยะลา พบว่ามีปริมาณของ CaO เป็นองค์ประกอบหลัก จากนั้นผู้วิจัยได้ออกแบบสูตรแก้วที่จะใช้ขี้เถ้าไม้ยางพาราจากโรงไฟฟ้าชีวมวลจังหวัดยะลาเป็นส่วนหนึ่งในสูตรโครงสร้างแก้ว โดยประกอบด้วย SiO 2 B 2O 3 Na 2O CaO และ ZnO ตามอัตราส่วนดังต่อไปนี้ 45B 2O 3: 5SiO 2: 20Na 2O: (25-x)CaO: 5ZnO ร้อยละโดยน้ำหนัก โดยเติมขี้เถ้าไม้ยางพารา ที่ x = 0, 5, 10, 15, 20 และ 25 ร้อยละโดยน้ำหนัก จากนั้นทำการหลอมแก้วในเตาหลอมไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 1200 องซาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ต่อมานำแก้วที่หลอมได้เทลงสเตนเลสโมลด์โดยใช้วิธีการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว (normal melt-quenching technique) และอบที่อุณหภูมิ 500 องซาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลงที่อุณหภูมิห้อง จากการวิเคราะห์หาค่าความหนาแน่น และค่าดัชนีหักเหของแก้วตัวอย่างพบว่าค่าความหนาแน่น และค่าดัชนีหักเหของแก้วตัวอย่างมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณขี้เถ้าไม้ยางพารา ด้านการวิเคราะห์ค่าการดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่น 400 – 2,000 นาโนเมตร พบพีคของค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 460 และ 1,052 นาโนเมตร ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนชั้นพลังงานจากชั้น 6A 1g (S) 4T 2g (G) และ 5E(D) 5T 2(D) ตามลำดับ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ขี้เถ้าไม้ยางพารา ,โรงไฟฟ้าชีวมวล,องค์ประกอบททางเคมี,แก้ว,จังหวัดยะลา |
Abstract |
The objective of this research is to develop glass materials using rubber wood ashes from biomass power plants in Yala Province. From the analysis of the chemical composition of rubber wood ash from the biomass power plant in Yala Province. It was found that the amount of CaO was the main component. The researcher then designed a glass formula that uses rubber wood ash from biomass power plants in Yala Province as part of the glass structure formula. It consists of SiO 2, B 2O 3, Na 2O, CaO and ZnO according to the following ratios: 45B 2O 3: 5SiO 2: 20Na 2O: (25-x)CaO: 5ZnO percentage by weight. By adding rubber wood ash at x = 0, 5, 10, 15, 20 and 25 percent by weight. Then melt the glass in an electric furnace at 1200 °C for 3 h. After that, the molten glass was poured into a stainless-steel mold using the normal melt-quenching technique and annealed at 500 °C for 3 hours and then allowed to cool to room temperature. The density and the refractive index of the glass samples tended to decrease with increasing amount of rubber wood ash. In terms of absorbance analysis in the wavelength range 400 – 2,000 nm, it was found that the absorbance peak at wavelengths around 460 and 1,052 nm was caused by changing the energy level from 6A 1g (S) 4T 2g (G) and 5E(D) 5T 2(D), respectively.
|
Keyword |
Rubber wood ashes, Biomass power plants, Chemical composition, Glass, Yala Province |
กลุ่มของบทความ |
วิทยาศาสตร์กายภาพ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|