รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาสารเสริมเเรงต่างชนิดเพื่อพัฒนาสมบัติของคอนกรีตรูพรุ
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Study of various reinforcing agents to enhance porous concrete properties
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายณัฐภัทร ถ้อยทัด , ผศ.ดร.กัญจน์รัตน์ สุขรัตน์, อ.ดร.กุลทัศน์ สุวัฒน์พิพัฒน์, นายอธิคม รุ่งโรจนวงศ์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) ์Nattapat Toythat , Kanjarat Sukrat, Kullatat Suwatpipat, Athikom Rungrochjanawong,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้พัฒนากระถางซีเมนต์โดยทำให้เป็นวัสดุคอมโพสิท เป็นการผสมสารเสริมแรงลงในเนื้อกระถางรูพรุน(เนื้อสาร) เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ซี่งตัวอย่างชิ้นงานซีเมนต์รูพรุนที่ประกอบด้วยซีเมนต์ หินเกล็ด และ น้ำ อัตราส่วน 1.0:3.0:0.4 โดยปริมาตร สูตร1 เมื่อผสมสารเสริมแรงอิฐมวลเบา (สูตร2) และแผ่นเส้นใยสังเคราะห์ (แผ่นใหญ่-สูตร3,แผ่นเล็ก-สูตร4) มีส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ หินเกล็ด น้ำ และสารเสริมแรง อัตราส่วน 1.0:2.0:0.4:1.0 โดยปริมาตร ส่วนสำหรับผงถ่านกัมมันต์ถูกผสมในองค์ประกอบสูตร1 คิดเป็นร้อยละ 1, 2.5 และ 5 ของปริมาตรปูนซีเมนต์ (สูตร5, 6 และ 7) องค์ประกอบต่าง ๆ ถูกผสมให้เข้ากันและเทใส่แม่พิมพ์ทรงกระบอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร สูง 10 เซนติเมตร และให้ชิ้นงานตัวอย่างมีความสูง 6 เซนติเมตร หลังจากนั้นปล่อยให้ชิ้นงานแข็งตัวลง 14 วัน จากนั้นนำไปทดสอบสมบัติการซึมผ่านน้ำ เมื่อเปลี่ยนสภาพของชิ้นงานหลังแช่น้ำ 30 วัน ผลการทดสอบการซึมผ่านน้ำ พบว่าร้อยละปริมาณน้ำที่ซึมผ่านได้มีค่าใกล้เคียงกันแสดงว่าชิ้นงานดูดน้ำได้ใกล้เคียงกันทั้ง ๆ ที่สารเสริมแรงที่ใส่ลงไปมีลักษณะแตกต่างกันโดยชิ้นงานสูตร2-4 ใช้เวลามากกว่าชิ้นงานสูตร1 ขณะที่ชิ้นงานสูตร5-7 ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าสูตร1 หลังการแช่น้ำ 30 วัน ทุกชิ้นงานยังคงสภาพเดิมและส่วนผสมสูตร4 ถูกนำมาผลิตกระถางซีเมนต์รูพรุนขนาด 10 เซนติเมตร X 10 เซนติเมตร X 12.5 เซนติเมตรมีความหนา 2.5 เซนติเมตร ซึ่งพบว่ามีความแข็งแรงและน้ำสามารถซึมผ่านได้ดี
 คำสำคัญภาษาไทย สารเนื้อหลัก,สารเสริมเเรง ,วัสดุเชิงประกอบ,คอนกรีตรูพรุน
 Abstract
This research aimed to make the porous pots to be composite materials. Reinforcement materials were added to the pot texture (matrix phase) to enhance the composite strength. In this study, lightweight brick chips, synthetic fiber sheet (large and small), and activated carbon were used as reinforcements. The porous-cement specimens were composed of cement, chipped stone, and water with a ratio of 1:3:0.4 by volume (F1). For the brick chip (F2) and the fiber sheet (large-F3, small-F4), the composite mixtures consisted of cement, chipped stone, water, and reinforcement with a ratio of 1:2:0.4:1 by volume. And then, the activated carbon powder was added into the F1 mixture with the 1, 2.5, and 5 percentages of cement weight (F5, 6, and 7, respectively). All components were mixed thoroughly and placed in a cylindrical mold with an 8 cm diameter and 10 cm height. The specimens were molded at 6 cm height. The specimens were left for curing for 14 days. After that, they were tested for their properties. The tested properties were water drainage, the change of appearance after being submerged under water for 30 days, and compressive strength. The results of the water drainage showed that the percentages of water passing through were similar for all specimens, meaning that the water adsorption of all specimens was alike, despite the difference in the characters of the reinforcements. On the other hand, the drainage durations were different. F2-F4 took a long time for the water to pass through, compared with F1, while F5-F7 took a shorter time. After being submerged under water for 30 days, all specimens remained in the same shape, although some chips were found falling off in F2-4. No chip fell out from F1 and F5-7. For the compressive strength test, it was found that only F4 showed improved strength compared to F1, whereas the compressive strengths of the others were decreased. Finally, the F4 component was used to cast the porous cement pot with the size of 10 cm x 10 cm x 12.5 cm and 2.5 cm thickness. The pot was strong and good for water drainage.
 Keyword matrix,composite material,reinforcement,porous concrete
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม