รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันหาคู่และการมีเพศสัมพันธ์ของนิสิตมหาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) A study of dating application use behavior and sexual intercourse among student at a University in North region.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวนริศรา สายสุดตา ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Narisara Saisudta ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันหาคู่ของนิสิตใน มหาวิทยาลัย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์จากการใช้แอปพลิเคชันหาคู่ของนิสิตใน มหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ คํานวณขนาดตัวอย่าง โดยการใช้สูตรเครซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ ขนาดตัวอย่างจํานวน 423 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือโดย Google form ได้รับ การตอบกลับทั้งสิ้น 436 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย 3 ส่วน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 39.0 เพศชายร้อยละ 20.2 Lesbian(หญิงรักหญิง) ร้อยละ 12.2 Bisexual(รักได้ทั้งชายและหญิง) ร้อยละ 10.6 อยู่ในช่วงอายุ 19-23 ปี ร้อยละ 93 (อายุเฉลี่ย 20.94, min=10, max=26 SD.=1.49) ระดับการศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 15.1 อยู่ชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 18.3 อยู่ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 40.6 อยู่ชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 24.8 สถานภาพโสด ร้อยละ 75.7 มีแฟน ร้อยละ 24.3 พักอาศัยหอพักหน้ามหาวิทยาลัย ร้อยละ 87.2 พักอาศัยหอใน มหาวิทยาลัย ร้อยละ 8.9 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าลักษณะที่พักอาศัย บุคคลที่พักอาศัยอยู่ด้วย และลักษณะการเล่น แอปพลิเคชันหาคู่ มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์กับคู่สนทนาในแอปพลิเคชันหาคู่อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ช่วงเวลาที่ใช้แอปพลิเคชันหาคู่ มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์กับคู่สนทนาในแอปพลิเคชันหาคู่อย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ P-value <0.001
 คำสำคัญภาษาไทย แอปพลิเคชันหาคู่, เพศสัมพันธ์, นิสิต
 Abstract
This cross-sectional descriptive study aimed to 1) study dating application use behavior and 2) study factors related to sexual behavior from dating application use among university students. The population were university students in the northern region. The sample size was calculated by using the Krejcie and Morgan formula, with a confidence level of 95%. Data were collected using questionnaires which created by the research team consisting of 3 parts from university students in the northern region with a google form which received 436 responses.
The results showed that 39.0% of the sample were female, 20.2% were male, 12.2% were lesbian (women love women), and 10.6% were bisexual (loving both men and women), 93% between the ages of 19-23 years (mean = 20.94, min=10, max=26 SD.=1.49), education level 1st year students 15.1%, 2nd year 18.3%, 3rd year 40.6%, 4th year 24.8%, Single status 75.7%, have a boyfriend 24.3%, live in a dormitory in front of the university 87.2%, live in a dormitory on the university 8.9%. The correlation analysis found that the residential characteristics, person who lives with and characteristics of dating applications using were statistically significant relationship with sexual intercourse with partner on dating application at the 0.05 level and time spent using dating application was statistically significant correlation with sexual intercourse with partner on dating application at the P-value <0.001 level.
 Keyword dating application, sexual intercourse, student
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม