รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บ ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Factors Related to High Sodium in Spicy Salad Consumption among Students of Burapha University, Bangsaen Campus
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวนนทินี ระวิรังษีอรุณ, นางสาวศิริวรรณ พินิจกุล, ผศ.ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nonthinee Ravirangsiarun, Siriwan Phinitkun, Chaiyanan Muanphetch ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยพรรณนาเชิงภาคตัดขวางนี้ (Cross-Sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บ กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตบางแสน จำนวน 201 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในรูปจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.2 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บอยู่ในระดับดี ร้อยละ 68.2 มีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 47.2 ได้รับสื่อและอิทธิพลกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 48.8 และ 42.5 ตามลำดับ และส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บระดับดีหรือเหมาะสม ร้อยละ 46.8 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บ ได้แก่ ทัศนคติ (r=.500, p<.001) อิทธิพลกลุ่มอ้างอิง (r=.481, p<.001) การได้รับสื่อ (r=.474, p<.001) และความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บ (r=-.358, p<.001) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการเรียนรู้ ทัศนคติ จัดกิจกรรมกลุ่มแบบมีส่วนร่วม และการรู้เท่าทันสื่อเพื่อนิสิตจะมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารโซเดียมสูงประเภทยำแซ่บดียิ่งขึ้น
 คำสำคัญภาษาไทย พฤติกรรมการบริโภค ,อาหารโซเดียมสูง ,ยำแซ่บ
 Abstract
The aims of this cross-sectional descriptive study were examining high sodium in spicy salad consumption behavior, and factors related to high sodium in spicy salad consumption. A multistage random sampling was used to recruit 201 students from Burapha university, bangsaen campus. Data was collected using an online questionnaire. Descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient at 95% were used to analyze the data.
The results revealed that 67.2 of student are female, 68.2% had knowledge toward high sodium in spicy salad consumption were good level, 47.2% had attitude toward high sodium in spicy salad consumption were low level, 48.8% had access to media, and 42.5% had influence of groups were low level, and 46.8% had high sodium in spicy salad consumption behaviors at a good level. The factors related to high sodium in spicy salad consumption behaviors were attitude toward high sodium in spicy salad consumption (r=.500, p<.001), influence of groups (r=.481, p<.001), access to media (r=.474, p<.001), and knowledge toward high sodium in spicy salad consumption (r=-.358, p<.001). The findings suggested that stakeholders should promote learning, attitude, participatory group activities, and appropriate media literacy to enhance students’ skills in the high sodium in spicy salad consumption.
 Keyword consumption behavior,high sodium foods,spicy salad
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม