รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ศักยภาพความสามารถในการแข่งขันการส่งออกกล้วยไม้ของประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Thailand and Netherlands Orchids Export Competitiveness Potential to The United States.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวศศิประภา หลอดแก้ว, นางสาวพลอยชิตา ประวิงวงศ์, นางสาวไพรินทร์ คงคล้าย ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Sasiprapa Lodkeaw, Ploychita Prawingwong, Pairin Kongklay ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคและความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานกล้วยไม้ของประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ไปยังสหรัฐอเมริกา 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามรถทางการแข่งขัน RCA ในการส่งออกกล้วยไม้ประเทศไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์ไปยังสหรัฐอเมริกา 3) พัฒนาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อส่งออกกล้วยไม้ประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกา การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 5 ราย พ่อค้าคนกลางจำนวน 2 ราย และผู้บริโภคจำนวน 10 ราย โดยใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series Data) ในช่วงปี 2561 – 2565 รวมระยะเวลา 5 ปี โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ และหน่วยงานต่าง เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักงานส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม และอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฎ (RCA) ผลจากการวิจัย 1) จากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคและความสัมพันธ์ของห่วงโซ่อุปทานกล้วยไม้ของประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ไปยังสหรัฐอเมริกา พบว่าปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึง ปลายน้ำ ได้แก่ โรคเน่าดำ เน่าไส้ เพลี้ยไฟ และบั่วกล้วยไม้ ต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น ค่าขนส่ง ค่าเก็บรักษากล้วยไม้ ค่าแรงงาน 2) จากการศึกษาวิเคราะห์ดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ (RCA) ของการส่งออกกล้วยไม้ของประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ค่าเฉลี่ย RCA ของประเทศไทยมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งหมายความว่ามีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบที่ปรากฏ ส่วนค่าเฉลี่ย RCA ของประเทศเนเธอร์แลนด์มีค่าน้อยกว่า 1 ซึ่งหมายความว่ามีความเสียเปรียบโดยเปรียบเทียบและประเทศไทยมีค่า RCA มากกว่าประเทศเนเธอร์แลนด์ 3) จากการวิเคราะห์แนวทางในการกำหนดกลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อส่งออกกล้วยไม้ประเทศไทยไปยังสหรัฐอเมริกา จึงทำให้สามารถค้นพบแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ได้ 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางในการเพิ่มปริมาณการขนส่ง แนวทางการขยายตลาดส่งออก และแนวทางการเพิ่มจุดแข็งด้านการผลิต
 คำสำคัญภาษาไทย ศักยภาพ,ความสามารถในการแข่งขัน,ห่วงโซ่อุปทาน
 Abstract
The objectives of this research were 1) to study the problems and obstacles and the relationship of orchid supply chains from Thailand and the Netherlands to the United States and 2) to study and compare RCA's competitiveness in exporting orchids from Thailand and the Netherlands. 3) To be a guideline for formulating a strategy to increase competitiveness in exporting Thai orchids to the United States This research was qualitative and quantitative. Interviewing 5 farmers, 2 middlemen, and 10 consumers using time series data during 2018 - 2022, including a period of 5 years, with data collected from various researchers and various agencies such as the Department of Agricultural Extension Ministry of Agriculture and Cooperatives, Office of Agricultural and Industrial Trade Promotion, and others to be used in the analysis of the apparent comparative advantage index (RCA) Results of the research 1) From the study of problems and obstacles and the relationship of orchid supply chains from Thailand and the Netherlands to the United States it was found that the problems from upstream to downstream were black rot disease, gut rot, thrips, and orchid lotus. Higher costs such as transportation costs, orchid storage costs, and labor costs 2) From the analysis of the apparent comparative advantage index (RCA) of orchid exports from Thailand and the Netherlands to the United States it was found that the average RCA of Thailand was greater than 1, meaning that there was an apparent comparative advantage. The average RCA of the Netherlands is less than 1, which means that there is a comparative disadvantage, and Thailand has a higher RCA than the Netherlands. Strategies to increase competitiveness in exporting Thai orchids to the United States As a result, three approaches can be found in strategic planning: ways to increase transport volumes; Guidelines for expanding export markets, and ways to increase production strengths.
 Keyword Potential,Compettitiveness,Supply Chain
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม