รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาเครื่องจักสานไม้ไผ่สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์บนฐานศักยภาพชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดยโสธร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of Bamboo Basketry into Creative Products Based on the Potential of the Basketry Handicraft Community in Yasothon Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายวสันต์ บุญล้น ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Wasan Boonlone ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
          การพัฒนาเครื่องจักสานไม้ไผ่สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์บนฐานศักยภาพชุมชนหัตถกรรมจักสานจังหวัดยโสธร เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่  มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักสานไม้ไผ่สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ด้วยกระบวนการค้นหา ตีความเรื่องราวใหม่ให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ร่วมสมัย  ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน  โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มเป้าหมายเป็นช่างจักสานไม้ไผ่  จำนวน 20 คน  ผลการวิจัย  พบว่า 
          ปัจจุบันอาชีพจักสานไม้ไผ่เป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนมากเพราะเป็นอาชีพที่ใช้ทักษะส่วนบุคคล    ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่เมืองใหญ่  และสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องให้กับครอบครัว  ในด้านวัตถุดิบ  ชุมชนจักสานไม้ไผ่ทั้งพื้นที่ดอนและพื้นที่ลุ่มน้ำ  จะใช้ไม้ไผ่สีสุกที่ปลูกตามหัวไร่ปลายนาของตน  หรือท้ายหมู่บ้าน  หรือภายในวัด  มาใช้ในการจักสานเหมือนกัน 
          พื้นที่ดอน  ช่างจักสานสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ  ส่วนใหญ่มีทักษะการสานกระติบข้าวทุกคน   หลักสูตรการออกแบบและผลิตแผ่นสานไม้ไผ่ย้อมสีธรรมชาติ จำนวน 30 ชั่วโมง มีผู้รับผิดชอบหลักสูตร คือนางสาวดาวเรือง วิเวกวินย์  ได้ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัย  คือแผ่นสานไม้ไผ่พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 
          พื้นที่ลุ่มน้ำ  ช่างจักสานสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ  มีทักษะการสานลอบ  ไซ  หลักสูตรการออกแบบ  และจักสานรูปทรงสัตว์  จำนวน 30 ชั่วโมง  มีผู้รับผิดชอบหลักสูตร คือนายนภา  คำหาญ  ได้ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัย  คือปลาสานไม้ไผ่
 
 
 คำสำคัญภาษาไทย ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์,หัตถกรรมจักสาน,ไม้ไผ่
 Abstract
          The objectives of this spatial research were to identify how to develop bamboo basketry into creative products through the process of searching, reinterpreting stories to make products meet contemporary needs with the community involvement.
          This study was conducted based on a participatory action research process, the target group was 20 bamboo basketmakers in the area. The results of the research were as follows:    
          Bamboo basketry is currently attracting a lot of interest from members of the community since it is a career that utilizes personal skills, does not require relocation to large cities, and can be a steady source of income for the family. In terms of raw materials, bamboo basketry communities in both  the upland and watershed areas will use ripe colored bamboo grown in their fields, at the end of their fields, or at the end of their villages, or within the temples to weave. 
          In the upland area, the basketmakers inherited the wisdom from their ancestors.  Most of them are skilled in making bamboo containers. A 30-hour course on designing and manufacturing bamboo basket sheets with natural dyes.  The person in charge of the course was Daorueng Vivekwin.  Bamboo basketry products developed from research were bamboo sheets in the image of Her Majesty Queen Sirikit, the Queen Mother.
          In the watershed area, basketry craftsmen inherited wisdom from their ancestors with the skill of making bamboo fish-trap. A 30-hour course on animal design basketry.  The person in charge of the course was  Napa Kamhan. Bamboo basketry products developed from research was bamboo woven fish.
 
 
 Keyword Creative Products,Basketry Handicraft,Bamboo
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม