รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา บริหารการศึกษา

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย รูปแบบการยกระดับการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ“1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The model of improvement enhancing the promotion of vocational education management for employment
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายถาวร พลีดี ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Thaworn Phlidi ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเรื่อง  รูปแบบการยกระดับการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับองค์ประกอบ สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน. ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” 3) ทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ”  4) ประเมินผล/ปรับปรุง รูปแบบการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาข้อมูลในครั้งนี้ คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาอาชีพและวิทยากรวิชาชีพ ของ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทั้ง 26 อำเภอ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พนักงานราชการ จ้างเหมาเอกชนดำเนินงาน และวิทยากรวิชาชีพ รวมทั้งสิ้น 297 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมใช้เครื่องมือเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอปสภาพปัญหาและสภาพที่พึงประสงค์ของการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ ด้านการนำหลักสูตรไปดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาอาชีพ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  ด้านการนิเทศ ติดตาม การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ด้านการยกระดับสินค้า/ผลิตภัณฑ์ สู่ กศน.แบรนด์ และด้านการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมการตลาด  รูปแบบการยกระดับการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” พบว่า การบูรณาการแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใช้การบูรณาการศาสตร์วิชาการความรู้จากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น  ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนจากสถานการณ์ปัญหาของชุมชน โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ในการพัฒนา  ผลการใช้รูปแบบการยกระดับการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น พบว่าระดับความพึงพอใจของการนำรูปแบบการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น ไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด (\LARGE \bar{x} = 4.60, S.D. = 0.17) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่า ประเด็นที่ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจสูงสุด ได้แก่ หลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำมีความทันสมัยและเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างอาชีพ ผู้บริหาร ครู หรือผู้เกี่ยวข้องได้มีกิจกรรมนิเทศ ติดตามผู้เรียนในการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ การจัดกิจกรรมประกวด คัดเลือกสุดยอดผลิตภัณฑ์ให้ใช้ตราสินค้า กศน. ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากัน  (\LARGE \bar{x} = 4.73, S.D. = 0.44) ส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และใช้ตราสินค้า กศน. การอำนวยความสะดวกของครูและวิทยากรในการฝึกอบรมตามหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ และประโยชน์ในการสร้างหรือพัฒนาอาชีพหลังจากจบหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากัน (\LARGE \bar{x} = 4.72, S.D. = 0.44) ส่วนประเด็นที่ผู้เรียนมีระดับความพึงพอใจต่ำสุด ได้แก่ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนระดับอำเภอและตำบลมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการจัดการศึกษาอาชีพ และผู้เรียนได้ฝึกอบรมเกี่ยวกับการออกแบบตราสินค้า มาตรฐานสินค้าในหลักสูตรการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ที่ค่าเฉลี่ยเท่ากัน (\LARGE \bar{x} = 4.37, S.D. = 0.48)  ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการยกระดับการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ “1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ” สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดขอนแก่น  พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างเรียงตามลำดับที่มีความถี่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงาน กศน.จังหวัด ควรส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการพัฒนาศักยภาพของครูและวิทยากรรวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาอาชีพอย่างต่อเนื่อง ควรให้มีภาคีเครือข่ายที่ปล่อยให้กู้ยืมเงินในการพัฒนาและต่อยอดอาชีพโดยมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ และสำนักงาน กศน.จังหวัด ควรส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าและนำเสนอผลผลิตจากการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ  OOCC ในระดับอำเภอเพื่อขับเคลื่อนการค้าแบบออนไลน์ของผู้จบหลักสูตรอาชีพเพื่อการมีงานทำตามลำดับ
 คำสำคัญภาษาไทย รูปแบบการยกระดับ,1 กศน.ตำบล 1 หลักสูตรอาชีพ,การส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
 Abstract
This Research subject The model for enhancing the promotion of vocational education management for employment "1 sub-district non-formal students 1 vocational curriculum" Office of the Promotion of Non-formal Education and Informal Education, KhonKaen Province The objectives are 1) to study the basic information about the components current and desirable conditions of vocational education management promotion for employment 1 Non-Formal Education Tambon 1 Vocational Curriculum2) to Develop a model to promote the vocational education management for employment 1 Non-Formal Education Tambon 1 Vocational Program", 3) to pilot a model to promote vocational education management for employment "1 Non-Formal Education. Tambon 1 Career Program” , and 4) to evaluate/rectify promotional model for vocational education management for employment 1 Non-Formal Education Tambon 1 Vocational Curriculum. The participation of the study are teachers, and educational personnel. In addition, a private contractor to operate, and professional Lecturers are inclouded. The total participation are 297 people. This study employed mixed-method using quantitative and qualitative methods. The results found that there were 6 types of components of problems and desirable conditions of vocational education management promotion for employment "1 Tambon Non-Formal Education 1 Vocational Program" Office of the Promotion of Non-formal Education and Informal Education, KhonKaen.The first components is aspect of applying educational management for career development Secondly, the aspect of creating and developing  vocational education curriculum. Thirdly, the aspect of participating in networking of education management for career development. Fourthly, the aspect of. supervision, monitoring, education management for career development. Fifthly, the aspect of upgrading products to NFE brand. And, the last one is the aspect of technology developing of using technology to promote marketing.
The model for enhancing the promotion of vocational education management for employment "1 sub-district non-formal education 1 vocational curriculum" found that the integration of the participatory action plan used the integration of academic knowledge from the education center, including Informal and informal education in KhonKaen were contributing to networking partners, both public and private sectors based on their problematic situations and their roles and responsibilities. The model for enhancing the promotion of vocational education management for employment "1 sub-district non-formal students 1 vocational curriculum" Office of the Promotion of Non-formal Education and Informal Education, KhonKaen resulted the satisfaction level of the implementation of the vocational education management promotion model for employment "1 sub-district 1 vocational education curriculum"Office of Non-Formal Education and Informal Education, KhonKaenat the highest satisfaction level (\LARGE \bar{x} = 4.60, S.D. = 0.17)Considering by each aspect, it was found that the issue that student had the highest level of satisfaction were career education courses for employment that were modern and focused on using digital technology to create careers, administrators, teachers or related persons had supervision activities,followed by learners in career education management for employment. Next, the establishment of contest activities competing on products to use the NFE brand with the same average value.(\LARGE \bar{x} = 4.73, S.D. = 0.44).Then, the promotion of the community enterprise groups of professional that develop products and use NFE brand,followed with teachers and trainers facilitation in training according to the vocational education curriculum for employment.Finally, the advantage of creating or developing a career after completing a vocational education program for employment at the same mean (\LARGE \bar{x} = 4.72, S.D. = 0.44).For the lowest level of satisfaction, the community vocational training centers at the district and sub-district levels had lower satisfactory level on the environment for vocational education management, and the students were not trained on brand design properly. And, product standards in career education courses for employment at the same mean (\LARGE \bar{x} = 4.37, S.D. = 0.48). According to the first three sample group frequencies, this study suggeststhat to improve and develop a model in order to raise the level of vocational education management for employment "1 Non-Formative Education, Tambon 1 Vocational Program", Office of the Promotion of Non-formal Education and Informal Education, KhonKaenare that the Provincial Non-Formal Education Office should promote and support additional budgets for developing the potential of teachers and lecturers, as well as those involved in the management of vocational education on an ongoing basis. There should be networking partners that lend money to develop and advance careers with low interest rates, and finally,the Provincial Non-Formal Education Office should establish a proper exhibition centers and present the products of vocational education for employment on the enthusiastically
 Keyword Elevating model,1 Sub-District Non-Formal Education 1 Career curriculum,Promotion of vocational education management for employment
 กลุ่มของบทความ บริหารการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม