รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ชุมชนตำบลบ้านแหลม จังหวัดสุพรรณบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) he Guideline Development Agro-tourism Activities for to Promote Sustainability Ban Laem Sub-District Community, Suphan buri Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.กิตติทัช เขียวฉอ้อน , นางสาวกัลยา ยิ้มศรีแพร, นางสาวฑัญพร มาศนาเรียง, นางสาวบังอร สดชื่น,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Kittitach Keawchaoon , Kanlaya Yimsripae, Thanyaporn Matnariang, Bangorn Sodcharn,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลบริบทของชุมชนตำบลบ้านแหลม 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่สนใจในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน 3) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการแจกแบบสอบถาม ซึ่งได้ผ่านพิจารณาตรวจสอบความเที่ยงและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์การวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 3 ท่าน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ ประชาชน และเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 16 คน และกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยว จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทพื้นที่ชุมชนตำบลบ้านแหลม จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก โดยชุมชนมีทรัพยากรที่เพรียบพร้อมเหมาะแก่การท่องเที่ยว จึงมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมท่องเที่ยวโดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น ก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ชุมชน 2) ด้านแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่สนใจในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ปัจจัยผลักเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชน และปัจจัยดึงกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรเกิดจากการนำทรัพยากรภายในชุมชนมาประยุกต์ใช้ โดยความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ด้านแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ชุมชนตำบลบ้านแหลม สามารถวิเคราะห์ได้ 9 แนวทาง ดังนี้ (1) ควรเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้หลากหลาย (2) ควรจัดโปรโมชั่นกิจกรรมการท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจ (3) ควรมีการจัดจำหน่าย และจัดกิจกรรม “ตลาดนัดชุมชน คนริมน้ำสุพรรณ” (4) ควรมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น (5) ควรชักชวนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร (6) ควรระดมความคิดเห็นจากสมาชิก (7) ควรเพิ่มกิจกรรมการทำสวนขวด (8) ควรนำเศษวัชพืชเหลือใช้มาทำฐานการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และ (9) ควรเพิ่มกิจกรรมการปลูกพืชสมุนไพรบริเวณไร่นาสวนผสม
 คำสำคัญภาษาไทย การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ,การท่องเที่ยวเชิงเกษตร,ความยั่งยืน
 Abstract
The objectives of this research were: 1) to study the context of Ban Laem Sub-district community. 2) to study the motivations of tourists interested in agro-tourism activities to promote sustainability. 3)to create guidelines for the development of agro-tourism activities to promote sustainability. It is a mixed method research, the tools used to collect data from the target group and sample groups by means of in-depth interviews and questionnaires which were examined for validity and reliability from 3 experts. The target groups were 16 community leaders, government agencies, academia, people and farmers in the area and 400 tourists. Qualitative data analysis was done based on its content. Furthermore, quantitative data were analyzed by their frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of the research were as follows: 1) The context of Ban Laem Sub-district community area Suphan buri Province, a community located along the Suphan River was the subject of the research. Most of the villagers are farmers. The community has abundant resources suitable for tourism. Therefore, a group was organized to do tourism activities using local resources. 2) The motivation of tourists interested in agricultural tourism activities to promote sustainability were analyzed. Push factors to promote income for the community and the pull factors for agro-tourism activities arise from the application of resources within the community. The tourists' satisfaction was at the highest level. 3) Guidelines for developing agro-tourism activities to promote sustainability was formulated. Ban Laem Subdistrict Community can be analyzed in 9 ways as follows: (1) Should increase a variety of agricultural tourism activities. (2) Should organize and promote tourism activities. (3) There should be distribution and should organize activities of market people along the Suphan River. (4) Should participate in more tourism activities. (5) Should persuade relevant agencies to develop agricultural tourism activities. (6) Should solicit opinions from members. (7) Should increase terrarium activities. (8) Should use the leftover weeds as a learning base for making bio-fertilizer. (9) Herb planting activities should be increased in mixed plantation fields.
 
 Keyword The development of tourism activities,Agro-tourism,Sustainability
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม