รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีในภาพแกะสลักบนใบเสมาทางภาคอีสาน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Architectural styles of the Dvaravati period in the carvings on Sema leaves in the northeastern Thailand
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) SUPITCHAR JINDAWATTANAPHUM ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ภาพสลักเล่าเรื่องที่ปรากฎบนใบเสมา ที่พบทางภาคอีสานของไทยในสมัยทวารวดี เป็นงานศิลป์ที่มีลักษณะโดดเด่นและเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยทวารวดีทางภาคอีสาน ที่มีอายุประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 -16 ใบเสมาพบได้ในหลายพื้นที่ทางภาคอีสาน โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำชีหรือภาคอีสานตอนกลางปรากฏหลักฐานการกระจายตัวของเมืองในวัฒนธรรมทวารวดีหนาแน่นที่สุด ได้แก่ เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และเมืองนครจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จากการศึกษาพบว่าใบเสมาที่มีภาพสลักเล่าเรื่องที่มีการค้นพบจำนวนมากมักพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่องราวที่ปรากฎบนใบเสมาหิน เป็นภาพเล่าเรื่องและรูปสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนา เช่น ธรรมจักร  พระสถูปเจดีย์ ในส่วนของภาพเล่าเรื่อง นิยมสลักเรื่องราวที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ หรือชาดกทางพุทธศาสนา โดยมีภาพบุคคล สัตว์ และสิ่งของเป็นองค์ประกอบ เพื่อแสดงเหตุการณ์สำคัญของเรื่องนั้น ดังนั้นภาพเล่าเรื่องรูปบุคคลในใบเสมา เป็นเหมือนสื่อสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสั่งสอนผู้คนในสมัยนั้นให้เข้าใจพุทธศาสนาในทุกระดับชนชั้น ภาพที่แกะสลักบนใบเสมาที่สามารถศึกษารูปแบบของงานสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีทางภาคอีสานคือภาพที่เป็นองค์ประกอบในเรื่องราวชาดก แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยทวารวดีทางภาคอีสาน องค์ประกอบของภาพในใบเสมาจะแสดงให้เห็นถึงรูปร่างหน้าตาของบุคคล การแต่งกาย ของใช้ในพิธีกรรม และสิ่งก่อสร้างที่เป็นงานสถาปัตยกรรม ภาพดังกล่าวประกอบไปด้วยป้อมปราการ ประตู ซุ้มวิหาร และบ้านเรือน ที่มีการผสมผสานของศิลปะทวารวดีและขอมโบราณ อันมีลักษณะงดงามเป็นรูปแบบเฉพาะของทางภาคอีสาน
 คำสำคัญภาษาไทย รูปแบบสถาปัตยกรรม,ภาพแกะสลักใบเสมา,ทวารวดี ,ภาคอีสาน
 Abstract
The narrative carvings appearing on Sema leaves in the northeastern Thailand during the Dvaravati period are outstanding and unique artworks in the Dvaravati period in the northeastern region around the 12th-16th Buddhist century. The leaves can be found in many areas in the northeastern region, especially in the Chi River basin or the central northeastern region. Evidence of the dense distribution of cities in Dvaravati culture was found, such as Fa Daet Songyang City. Kamalasai District Kalasin Province Kantharawichai City Kantharawichai District Maha Sarakham Province and the city of Nakhon Japasri, Na Dun District, Maha Sarakham Province.
The study was found that the leaves came in many carved images telling stories that have been found in large numbers are often found at Fa Daet Song Yang City, Kalasin Province. The stories that appear on the leaves are narrative pictures and Buddhist symbols, such as the Thammachak, the Stupa Chedi.  As for narrative paintings, stories related to the Buddha's history or Buddhist Jataka are often carved with images of people, animals and objects as elements to show the important events of that story. Therefore, the narrative of the portraits in the leaves were like a symbolic medium used to teach people at that time to understand Buddhism at all levels. The images carved on the leaves can be studied in the style of architecture of the Dvaravati period in the northeastern region. It is an image that is an element in the Jataka story, which shows the story of the people's way of life in the Dvaravati period in the northeastern region. The elements of the image in the leaves show the appearance of the person, dress, ritual objects and architectural structures. The picture consists of fortifications, gates, viharn facades and houses that are a combination of ancient Dvaravati and Khmer arts that are uniquely beautiful in the northeastern region.
 Keyword Architectural styles,the carvings on Sema leaves,Dvaravati,northeastern
 กลุ่มของบทความ ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม