รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา
ชื่อบทความภาษาไทย |
นักรบแห่งทวารวดีจากหลักฐานทางโบราณคดี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Warrior of Dvaravati from archaeological evidence |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
SUPITCHAR JINDAWATTANAPHUM , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
นักรบ เป็นบุคคลที่มีความสามารถในด้านการต่อสู้ ฟันดาบ และเป็นกำลังสำคัญในการทำหน้าที่ปกป้องชาติบ้านเมืองมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล นักรบเปรียบเหมือนทหารที่เป็นกำลังสำคัญประหนึ่งเกราะป้องกันการรุกรานจากภายนอกประเทศ มาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณ ทวารวดี เป็นยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนแผ่นดินไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-16 ที่มีหลักฐานปรากฎพระนามของกษัตริย์บนเหรียญเงินสมัยทวารวดีว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ แปลว่า บุญของพระราชาแห่งศรีทวารวดี ค้นพบครั้งแรกที่จังหวัดนครปฐม และปรากฎพระนามพระเจ้าหรรษะวรมันบนจารึกแผ่นทองแดง ที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีหลักฐานดังกล่าวยืนยันถึงการปกครองที่มีระบบกษัตริย์ในสมัยทวารวดี ดังนั้นตามธรรมเนียมของการมีกษัตริย์ย่อมจะมีนักรบในยุคสมัยนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานักรบในสมัยทวารวดี เป็นการศึกษาโบราณวัตถุที่ค้นพบในสมัยทวารวดีที่เมืองโบราณนครปฐม เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ และเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่ามีหลักฐานของการมีนักรบในสมัยทวารวดี โดยปรากฎเป็นภาพบนภาชนะดินเผา ภาพแกะสลักในงานปูนปั้นประดับศาสนสถาน และหลักฐานเครื่องใช้ประจำตัวนักรบคือศาสตราวุธในสมัยทวารวดี ที่เป็นดาบท้ายห่วง หลักฐานที่กล่าวมานี้เป็นการยืนยันถึงการมีอยู่ของนักรบในสมัยทวารวดี
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
หลักฐานทางโบราณคดี ,นักรบ,ทวารวดี |
Abstract |
A warrior is a person who has the ability to fight, fencing and has been an important force in protecting the nation since ancient times. The warrior is like a soldier as a shield to prevent invasions from outside the country since the ancient times of Dvaravati, a prehistoric period in Thailand around the 11th-16th Buddhist centuries. There is evidence showing the name of the king on the silver coins of the Dvaravati period that Sri Dvaravati Swarapunya means the merit of the king of Sri Dvaravati. It was discovered in Nakhon Pathom Province and the name of King Hansavarman appeared on a copper inscription at U-Thong Ancient City. Such evidence confirms the rule with a monarchy in the Dvaravati period, in which the tradition also have warriors in that era. Objectives of the study of warriors in the Dvaravati period It is a study of antiquities discovered in the Dvaravati period at the ancient city of Nakhon Pathom. U Thong Ancient City, Chan Sen Ancient City and Fa Daet Song Yang Ancient City, Kalasin Province, it was found that there was evidence of warriors in the Dvaravati period by appearing on pottery, carvings in stucco decorations, religious places including the evidence of a warrior's identity is a weapon in the Dvaravati period that is a sword at the end of the ring. The evidence confirms the existence of warriors in the Dvaravati period.
|
Keyword |
Warrior of Dvaravati,Archaeological evidence ,Davaravati |
กลุ่มของบทความ |
ปรัชญาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสังคมศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|