รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์ของชุมชน วัดธรรมปัญญารามบางม่วง ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of an Organic Agriculture Buddhist-cultural Tourism Sites of Thammapanyaram Bangmuang Temple Community, Bangchang Sub-district, Samphran District, Nakhon Pathom Province.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์ , นายสุรมงคล ลิ้มเจริญศิริกุล,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Rungnapa Pengrungruangwong , Suramongkol Limchareonsirikul,
 บทคัดย่อภาษาไทย
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์ของชุมชนวัดธรรมปัญญารามบางม่วง 2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์ของชุมชนวัดธรรมปัญญารามบางม่วง เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 135 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) สอบถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณวัดธรรมปัญญารามบางม่วง จำนวน 50 คน 2) สอบถามนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศ จำนวน 50 คน 2) สนทนากลุ่มเฉพาะผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครปฐม และเจ้าอาวาสและภิกษุสามเณรวัดธรรมปัญญารามบางม่วง จำนวน 35 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
            ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์ของชุมชนวัดธรรมปัญญารามบางม่วงพบว่า ยังขาดความพร้อมในระดับมากที่สุด คือด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวก รองลงมา ด้านทรัพยากรทางการท่องเที่ยวและสภาพแวดล้อมในชุมชน ด้านการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการส่งเสริมการตลาดและการจัดจำหน่ายทางการท่องเที่ยว ด้านการบริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ด้านคุณค่าและสิ่งดึงดูดใจในแหล่งท่องเที่ยว ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านผลิตภัณฑ์ชุมชนและเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และด้านการจัดการความรู้แก่นักท่องเที่ยวและคนในชุมชน 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์ของชุมชนวัดธรรมปัญญารามบางม่วง  ควรความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วัด และชุมชน หน่วยงานต่างๆควรสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การประชาสัมพันธ์แก่นักท่องเที่ยว และส่งเสริมการจัดตั้งร้านค้าชุมชน วัดควรวางแผนปรับโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยวด้านสิ่งอำนวยความสะดวก การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  และการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรมเพื่อสอดแทรกความรู้และความบันเทิงแก่นักท่องเที่ยว ชุมชนควรอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมที่เน้นความเป็นพุทธเกษตรอินทรีย์ การจัดทำสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน และพัฒนารูปแบบจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนให้เป็นเอกลักลักษณ์
 คำสำคัญภาษาไทย ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์,แนวทางการพัฒนาแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมพุทธเกษตรอินทรีย์ ,วัดธรรมปัญญารามบางม่วง
 Abstract
          This research aims to 1) study problems and obstacles  the development of an organic agriculture buddhist-cultural tourism sites of Thammapanyaram Bangmuang Temple community, 2) recommend for the development of an organic agriculture buddhist-cultural tourism sites of Thammapanyaram Bang muang Temple community. It is a mix of quantitative and qualitative research. The sample group of 135 people was divided into 3 groups, 1) Inquiring 50 people living in the Thammapanyaram Bangmuang Temple area, 2) inquiring about 50 Thai and foreign tourists, 3) Discussing groups of specific stakeholders is the Provincial Cultural Office of Nakhon Pathom, Nakhon Pathom Provincial Tourism and Sports Office, and 35 monks and novices. The data were analyzed by distributing frequency, percentage, mean and content analysis.
          The results of the study were as follows: 1) development of an organic agriculture buddhist-cultural tourism sites of Thammapanyaram Bangmuang Temple community found that Lack of readiness at the highest level are physical infrastructure and facilities, follow by tourism resources and community environment, management of cultural tourism of the community, community participation and support from relevant agencies, marketing promotion and tourism distribution, service related to tourism, value and attractiveness in tourist attractions, benefits received from cultural tourism, community products and cultural identity and knowledge management for tourists and people in the community, 2) Recommendations for the development of an organic agriculture buddhist-cultural tourism attraction of Thammapanyaram Bangmuang Temple community should be cooperation from relevant agencies, temples and communities. The agencies should provide budget and personnel support for cultural tourism promotion, public relations to tourists and promote the establishment of community shops. Temples should plan to adjust the tourism infrastructure in terms of facilities, optimizing the environment and cultural activities to insert knowledge and entertainment for tourists. The community should preserve the traditional culture that emphasizes oganic agriculture buddhist-cultural. Creating products that are the identity of the community and develop a unique community-based cultural tourism management model.
 Keyword Problem and Obstacle of an Organic Agriculture Buddhist-cultural Tourism Sites,The Development of an Organic Agriculture Buddhist-cultural Tourism Sites,Thammapanyaram Bangmuang Temple
 กลุ่มของบทความ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม