รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์
ชื่อบทความภาษาไทย |
ปัญหากฎหมายลิขสิทธิ์ในการแต่งกายชุดคอสเพลย์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Legal Copyright Issues regarding Cosplay Costumes |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.นเรศ ชูดวง , ผศ.นาฎนภา ชูดวง, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Naret Chooduang ,
Nadnapa Chooduang, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การแต่งกายชุดคอสเพลย์เลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่ตนเองชื่นชอบนั้น เป็นเสรีภาพในการแต่งกายที่ทุกคนสามารถแต่งกายแบบไหนอย่างไรก็ได้ แต่การแต่งกายในบางครั้งหรือบางกรณีก็อาจจะกระทบสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ในตัวการ์ตูนหรือตัวละครนั้น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดข้อพิพาทหรือเกิดการฟ้องร้องผู้ที่แต่งกายเลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ หากผู้ที่แต่งกายชุดคอสเพลย์มีเจตนาให้เกิดประโยชน์ในทางการค้าหรือมีเจตนาให้เกิดประโยชน์แก่ผู้แต่งชุดคอสเพลย์เอง แต่หากผู้แต่งกายชุดคอสเพลย์ไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้น ก็จะไม่เป็นธรรมแก่ผู้ที่ชื่นชอบตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่อยากจะสวมใส่ชุดให้เหมือนกับตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่ตนเองชื่นชอบ ซึ่งตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ได้กำหนดข้อยกเว้นในเรื่องการแต่งกายเลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครไว้เป็นการเฉพาะ จึงอาจเกิดปัญหาในการตีความได้ ดังนั้น จึงควรกำหนดข้อยกเว้นไม่ให้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในเรื่องการแต่งกายเลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่ไม่ได้มีเจตนากระทำเพื่อแสวงหากำไรไว้ และควรออกกฎหมายให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์กับผู้ที่หารายได้จากการแต่งกายเลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่มีลิขสิทธิ์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์และแก่ผู้ที่แต่งกายตามความชื่นชอบ ก็จะลดปัญหาข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
กฎหมายลิขสิทธิ์ ,คอสเพลย์ ,การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม |
Abstract |
The act of cosplay as a well-liked cartoon or fictional character represents an exercise in the freedom of sartorial expression, where individuals have the freedom to dress however they please. Yet, in particular circumstances, cosplay may infringe upon the copyright owner’s rights of the cartoons or characters. If a cosplayer wears a costume as cartoons and fictional characters with the intention of gaining commercial benefit or personal profit, disputes or accusations of copyright infringement may arise against that cosplayer. On the other hand, if a cosplayer has no intention of earning any profit, it may be unjust to prohibit individuals who admire and desire to dress as their favorite cartoons or fictional characters through cosplay. According to the Copyright Act B.E. 2537 (1994), the exception of copyright act in cosplay is explicitly unspecified. Consequently, this could lead to difficulties in legal interpretation. Thus, in regard to the act of imitating the appearance of cartoons or fictional characters with non-profit purposes, exceptions should be established to prevent this from being considered as copyright infringement. In addition, laws should be enacted to enable copyright owners to claim royalties from individuals who profit form cosplaying copyrighted cartoons and fictional characters, in order to ensure fairness for both holders of copyright and individuals who engage in recreational cosplaying. All in all, these could reduce potential disputes that may occur in the future.
|
Keyword |
Copyright law,Cosplay,Fair use |
กลุ่มของบทความ |
รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|