รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การศึกษาเนื้อหาในหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่องานบริการ กรณีศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการโรงแรม |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
A study of the contents of Japanese textbooks for service work: Case Study of Japanese for Hotel |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.ปรัชญาภรณ์ รัตนพงศ์ภิญโญ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Pratyaporn Rattanapongpinyo , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสัดส่วนหัวข้อ โครงสร้าง และลักษณะในหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่องานโรงแรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่องานโรงแรมที่เป็นภาษาไทยและตีพิมพ์ช่วงปีพ.ศ.2542-2565 จำนวน 11 เล่ม โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีหลักการสอนของกาเย่ (Gagne’s Conditions of Learning) มาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างของหนังสือเรียน จากการศึกษาพบว่า หัวข้อที่พบมากที่สุดคือ การให้บริการทางโทรศัพท์ รองลงมาคือหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับพนักงานต้อนรับ ด้านโครงสร้างในหนังสือเรียนไม่มีความแตกต่างกันมากนัก โดยทุกเล่มจะมีการนำเสนอเนื้อหาใหม่ และการทดสอบความรู้ใหม่ปรากฎอยู่ ซึ่งส่วนมากจะเป็นแบบฝึกหัดด้านทักษะความเข้าใจ และทักษะการพูด อย่างไรก็ตามพบว่าหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อการโรงแรมในปัจจุบันยังขาดเรื่องของการบอกวัตถุประสงค์และการทบทวนความรู้เดิมอยู่ อีกทั้งในด้านแบบฝึกหัดพบว่า หนังสือเรียนที่มีแบบฝึกหัดด้านทักษะการนำไปใช้มีจำนวนน้อย
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ภาษาญี่ปุ่น,ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการโรงแรม,การวิเคราะห์หนังสือเรียน |
Abstract |
This research aimed to study topic proportions, structure, and characteristics in Japanese textbooks for hotel work. The target groups were 11 Japanese textbooks for hotel work in Thai language published during the year 1999-2022 and analyzed the structure of these textbooks by using Gagne's Conditions of Learning theoretical framework. The study found that the most common topics were telephone service, followed by topics related to receptionists. There was not much difference in the structure of textbooks. In each book, new content will be presented. and new tests of knowledge appeared. Most of which were comprehension skills and speaking skills exercises. However, the study found that in Japanese textbooks for hotel work, chapter objectives and review of previous knowledge were not explicitly stated. In addition, in practice, it was found that there are only few textbooks that propose exercises on practical skills.
|
Keyword |
Japanese,Japanese for Hotel,Textbook analysis |
กลุ่มของบทความ |
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|