รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การเสริมคุณค่าทางโภชนการในผลิตภัณฑ์บิสกิตด้วยการทดแทนแป้งสาลีด้วยผงผักโขม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Nutrition supplementation in biscuit product using amaranth powder as wheat flour replacement
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวอุษา พันฤทธิ์ดำ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Usa Panritdam ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
          
          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการทดแทนผงผักโขมในผลิตภัณฑ์บิสกิต โดยเตรียมใบผักโขมอบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง จากนั้นบดใบผักโขมแห้งแล้วกรองอนุภาคด้วยตะแกรงกรองขนาด 60 เมช จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีพบว่าผงผักโขมมีปริมาณ โปรตีน ไขมัน เส้นใย เถ้า และความชื้น ร้อยละ 25.64 5.14 7.80 19.59 และ 3.80 ตามลำดับ หลังจากนั้นนำผงผักโขมไปใช้ทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์บิสกิตที่ 5 ระดับ คือ ร้อยละ 0 3 6 9 และ 12 ของน้ำหนักแป้ง จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสด้วยวิธี 9 – point hedonic scale และศึกษาลักษณะทางด้านเนื้อสัมผัส ค่าสี ค่า aw ปริมาณความชื้น และองค์ประกอบทางเคมี ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าสูตรที่มีปริมาณผงผักโขมร้อยละ 6 ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับความชอบโดยรวมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ (p≤0.05) ลักษณะเนื้อสัมผัสด้านความแข็ง (Hardness) เท่ากับ 2178 กรัม ส่วนค่าความสว่าง (L*) ค่าสีแดง (a*) ลดลง และค่าสีเหลือง (b*) เพิ่มขึ้น ปริมาณความชื้นเท่ากับร้อยละ 3.06  และค่า aw เท่ากับ 0.32 มีองค์ประกอบทางเคมี คือ ปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย และเถ้า ร้อยละ 62 7.76 23.26 1.36 และ 5.62 ตามลำดับ และพลังงานทั้งหมดเท่ากับ 488.38 กิโลแคลอรี่ต่อตัวอย่าง 100 กรัม
 
 คำสำคัญภาษาไทย ผงผักโขม ,บิสกิต,ปริมาณความชื้น
 Abstract
      The objective of this study was to investigate the effects of wheat flour substitution with amaranth powder. amaranth (Amaranthus viridis L.) leaves were dried in a cabinet tray dryer at 55 °C for 3 h and ground to pass through 60 μm mesh to obtain amaranth powder. The chemical properties of amaranth powder have been studied. The percentages of protein, fat, fiber, ash, and moisture as 25.64, 5.14, 7.80, 19.59, and 3.80 respectively. Amaranth powder was added into biscuits at different levels including 0 (control), 3, 6, 9 and 12 % (w/w) to replace wheat flour. Sensory evaluation in terms of 9 – point hedonic scale were carried out. Quality characteristic, including textural properties, color, moisture content water activity and chemical composition were evaluated. The results showed that 6 % supplementation of amaranth powder was more overall acceptability (p≤0.05) when compared to the control. The hardness of the developed biscuits was 2178 g. A color value of L* and a* were decreased and b* was increased as the addition level of amaranth powder. The content of moisture of the product was 3.06. The water activity (aw) was 0.32. The chemical compositions of carbohydrate, protein, fat, fiber and ash was 62, 7.76, 23.26, 1.36 and 5.62 percent, and would yield energy of 488.38 Kcal per 100 g, respectively.
 Keyword Amaranth powder, Biscuits, Moisture content
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม