รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐมสาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
ชื่อบทความภาษาไทย |
การวิเคราะห์พันธุกรรมของทากเล็บมือนางมาร์เทนส์ Parmarion martensi ในประเทศไทยโดยใช้ยีนไซโทโครมซีออกซิเดสหน่วยย่อยที่หนึ่ง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Genetic analysis of Marten's semi-slug (Parmarion martensi) in Thailand using cytochrome C oxidase subunit I Gene |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายศุภกร วงษ์เรืองพิบูล , นายวิชาญ วรรธนะไกวัล, นางสาวทัสดาว เกตุเนตร, นายสมเกียรติ กล้าแข็ง, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Suphakorn Wongruengpibool ,
Vichan Watthanakaiwan,
Thasdow Katenate,
Somkiat Klakhaeng, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ทากเล็บมือนางมาร์เทนส์ (Parmarion martensi) มีความสำคัญต่อมนุษย์ในเชิงการเกษตรและสาธารณะสุข เนื่องจากเป็นสัตว์ศัตรูพืชของพืชเศรษฐกิจหลายชนิดในประเทศ และเป็นพาหะของพยาธิ Angiostrongylus cantonensis ซึ่งสามารถก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดอีโอซิโนฟิลิก เพื่อที่จะทราบถึงโครงสร้างพันธุกรรมการศึกษานี้จึงใช้ทากเล็บมือนางมาร์เทนส์ 66 ตัวอย่างทั่วประเทศไทย ทำการเพิ่มปริมาณยีน COI จากการอ่านลำดับนิวคลีโอไทด์พบค่าความหลากหลายของแฮปโพลไทฟ์ที่สูง และ ความหลากหลายทางนิวคลีโอไทด์ที่ต่ำ (เท่ากับ 0.9120 และ 0.0218 ตามลำดับ) ประกอบกับแผนภูมิ Nested clade analysis ที่มีรูปแบบการจัดกลุ่มที่คล้ายกับมีการกระจายออกจากจุดศูนย์กลางสามารถทำนายได้ว่าประชากรทากเล็บมือนางได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังจากผ่านปรากฏการณ์คอขวดในอดีต และจากการที่มีลักษณะทางพันธุกรรมของประชากรทากแต่ละจังหวัดที่ผสมปนเปกันในแผนภูมิ nested clade analysis การวิเคราะห์ Mantel test ที่พบการไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างทางพันธุกรรมและระยะห่างทางภูมิศาสตร์ของประชากร (R2 = -0.00001) รวมถึงการวิเคราะห์ SAMOVA ที่พบความแปรผันทางพันธุกรรมระหว่างทากเล็บมือนางแต่ละตัวภายในประชากรเดียวกันต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง (p-value = 0.0000) แต่ไม่พบความแปรผันทางพันธุกรรมเกิดขึ้นระหว่างประชากรที่อยู่ต่างกลุ่มกัน (p-value = 0.11046) เป็นหลักฐานที่ชี้บอกได้ดีว่าพันธุกรรมของประชากรทากเล็บมือนางมาร์เทนส์ในประเทศไทยไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะทาง
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ทากเล็บมือนางมาร์เทนส์ ,การวิเคราะห์พันธุกรรม ,ไซโทโครมซีออกซิเดสหน่วยย่อยที่หนึ่ง |
Abstract |
Marten's semi-slug (Parmarion martensi) is an important terrestrial gastropod species in agriculture and public health. It is a major economic pest and a vector of the parasite named Angiostrongylus cantonensis (rat lungworm), which can cause eosinophilic meningitis in humans. To understand the genetic data of these semi-slugs, 66 samples of P. martensi from Thailand were used for amplifying COI nucleotides. Our results found that high haplotype diversity (h=0.9120) and low nucleotide diversity (π=0.0218) values were presented, as well as a star-like grouping pattern in the nested clade analysis, suggested that there was a populational expansionof semi-slugs after a bottleneck effect in the past. The results showed mixture of populations in the nested clade analysis, i.e., a non-relationship between genetic distance and geographical distance of Marten's semi-slug populations (R²=-0.00001). Moreover, significant genetic variation among individuals within each population (p-value = 0.0000), including non-significant semi-slug genetic variation of two groups of populations in SAMOVA analysis (p-value=0.11046), suggested that the trend of genetic distance of P. martensi in Thai populations does not depend on geographical distance.
|
Keyword |
Parmarion martensi,Genetic analysis,COI gene |
กลุ่มของบทความ |
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม |
|
|