รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาลักษณะของข้าวพันธุ์พื้นเมืองร่วมกับข้าวพันธุ์ทางการค้า
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Characterization of traits of landrace rice and commercial rice cultivars
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.สิทธิพันธุ์ สินอำพร , นางสาววินิจดา ยอดครบุรี, นางสาวกนกวรรณ์ ดุขุนทด, อ.ดร.สุชีลา ตาลอำไพ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Sittipun Sinumporn , Vinidda Yodkonburee, Kanokwan Dukhuntod, Sucheela Talumphai,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ข้าวพันธุ์พื้นเมืองเป็นข้าวที่มีการเก็บรวบรวมและสืบทอดกันมาในแต่ละท้องถิ่น จากสถานการณ์ในปัจจุบันข้าวพื้นเมืองมีปริมาณการปลูกลดน้อยลงเนื่องจากมีราคาต่ำไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามข้าวพื้นเมืองยังมีความจำเป็นในการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวเนื่องจากข้าวพันธุ์รับรองในปัจจุบันล้วนมีต้นกำเนิดจากข้าวพันธุ์พื้นเมือง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลของข้าวพื้นเมืองเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์รับรอง โดยใช้การเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลักษณะทางการเกษตรของข้าว เช่น ความยาวรวง น้ำหนักเมล็ด จำนวนเมล็ดทั้งหมดต่อรวง จำนวนเมล็ดสมบูรณ์ต่อรวง และจำนวนเมล็ดไม่สมบูรณ์ต่อรวง เป็นต้น โดยข้าวเหนียวพันธุ์ กข22 มีจำนวนเมล็ดทั้งหมดและจำนวนเมล็ดสมบูรณ์ต่อรวงสูงที่สุด ในขณะที่ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงูมีจำนวนของเมล็ดไม่สมบูรณ์สูงที่สุดด้านความยาวรวงพบว่าความยาวรวงของข้าวขาวดอกมะลิ105 มีค่าความยาวรวงสูงที่สุด ลักษณะความยาวเมล็ดพบว่าพันธุ์หอมชัยภูมิมีความยาวมากที่สุด ด้านความกว้างเมล็ดแต่ละพันธุ์แตกต่างกันเล็กน้อย ในด้านความหนาของเมล็ดพันธุ์ที่โดดเด่นที่สุดคือ          พันธุ์แสนสบายที่มีความหนาเมล็ดที่ 0.35 เซนติเมตร ด้านลักษณะความหอมซึ่งเกิดจากสาร 2-Acetyl-1-pyrroline (2AP) เป็นลักษณะที่จำเพาะของข้าวหอมมะลิไทย พบว่าพันธุ์ กข15 ซึ่งปรับปรุงและพัฒนาโดยกรมการข้าวมีปริมาณสาร 2AP สูงที่สุดรองลงมาคือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ105
 คำสำคัญภาษาไทย ข้าวพันธุ์พื้นเมือง ,ลักษณะทางการเกษตร,ความหลากหลายของข้าว
 Abstract
Landrace rice was collected and inherited for each local use. Nowadays, utilization of landrace rice has decreased owing to a low price as it is not consumer preference. However, landrace rice is necessary for rice breeding and development. In addition, commercial cultivars were developed from landrace rice. The objective of this study was to determine landrace rice information compared to commercial cultivars. Morphology, agronomic traits such as panicle length, grain weight, total grain per panicle, filled grain per panicle, unfilled grain per panicle were assessed. The result elucidated that RD22 possessed the highest value of total grain per panicle, filled grain per panicle. On the other hand, Keo Ngu possessed the highest value of unfilled grain per panicle. The Panicle length showed the highest value on KDML105 and Hom Chaiyaphum revealed the highest grain length. The grain widths were not different, while the outstanding grain thickness belonged to Saen Sabai by 0.35 centimeters. Fragrance rice, owing to the presence of 2-Acetyl-1-pyrroline (2AP), is specific to Thai Hommali rice and the study revealed that RD15, invented and developed by the Rice Department, possessed the highest 2AP, followed by KDML105.
 
 Keyword Landrace rice,agronomic traits,biodiversity of rice
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม