รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 13 – 14 กรกฎาคม 2566
ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม จังหวัดนครปฐม
สาขา วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การใช้เปลือกทุเรียน เปลือกขนุน และผลกล้วยน้ำว้าด้อยคุณภาพ เป็นอาหารไส้เดือน ต่อสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Durian Peels, Jack Fruit Peels and Low Quality Bananas on Chemical Properties of Vermicompost
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายธนาวิล วงษ์เจริญ , นางสาวธัญดา เบญธวารีเดชา,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) tanawil wongjaroen , Thunyada Benthavaridhacha,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ผลิตจากเปลือกทุเรียน เปลือกขนุน และผลกล้วยน้ำว้าด้อยคุณภาพ โดยใช้ไส้เดือนสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ คลอเลอร์ ทำการให้อาหารทุก 15 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเวลา 60 วัน รดน้ำในกระบะทุกวัน หลังจากเลี้ยงไส้เดือนครบ 60 วันแล้ว งดให้อาหารแต่ยังคงให้น้ำต่อเนื่องเป็นเวลาอีก 30 วัน รวมระยะเวลาที่เลี้ยง 90 วัน และเก็บตัวอย่างปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนไปวิเคราะห์สมบัติทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรด–ด่าง pH การนำไฟฟ้า EC ปริมาณอินทรียวัตถุรับรอง OM และปริมาณธาตุอาหารหลัก N P K ทั้งหมด 2 ครั้ง คือ 60 และ 90 วัน นับจากเริ่มทดลอง โดยเก็บตัวอย่างก่อนการให้อาหารทุกครั้ง
                        จากการศึกษาสมบัติทางเคมีของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ผลิตจากเปลือกทุเรียน เปลือกขนุน และผลกล้วยน้ำว้าด้อยคุณภาพ พบว่าวัสดุทั้ง 3 ชนิดที่นำมาเลี้ยงไส้เดือน มีสมบัติทางเคมีผ่านเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร และปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนที่ให้อาหารด้วยเปลือกขนุนในช่วงเวลา 60 วันนับจากเริ่มทดลอง มีแนวโน้มปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมดสูงกว่าการให้อาหารชนิดอื่น คือ 2.56 % และมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดสูงที่สุด คือ 1.31 % และยังพบว่าการให้อาหารด้วยเปลือกขนุน มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 6.85 ซึ่งมีความใกล้เคียงความเป็นกลางที่ 7.0 มากที่สุด นอกจากนี้ พบว่าการให้อาหารด้วยเปลือกขนุนมีค่าการนำไฟฟ้าเท่ากับ 1.88 dS/m สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ๆ ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมดที่ให้อาหารด้วยเปลือกขนุนมีปริมาณมากกว่าการให้อาหารด้วยเปลือกทุเรียน อย่างไรก็ตามพบว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุรับรองกลับไม่แตกต่างกัน
 คำสำคัญภาษาไทย เปลือกทุเรียน,เปลือกขนุน ,ผลกล้วยน้ำว้าด้อยคุณภาพ
 Abstract
           The aim of this study was to evaluate the effect of durian peels, jack fruit peels and low qualities bananas on chemical properties of vermicompost. The experiment was conducted using CRD, consisting of 4 treatments with 4 replications. The treatments were as followed 1) cow manure, 2) cow manure + durian peels, 3) cow manure + jack fruit peels and 4) cow manure + low qualities banana. The earthworms (African Night Crawler (Eudrilus eugeniae) species) were grown in this study. Treatments of 2, 3 and 4 were fed to earthworms every 15 days interval, total of 4 times until 60 days. Continuous watering for 30 days was further done after stopping feeding. Vermicompost sampling were done before feeding at 60 and 90 days after growing earthworms for chemical analysis consisting of pH, EC, OM and NPK contents. It was found that chemical properties of vermicompost produced from durian peels, jack fruit peels and low qualities banana passed the Organic Fertilizer Standard of Department of Agriculture. Vermicompost produced from jack fruit peels showed a trend of the highest total K2O content (2.56%) and showed the highest total N (1.31%N). Moreover, it was found that vermicompost from jack fruit peels had a pH of 6.85 which was closed to the neutral (pH 7) level more than other treatments. In addition, vermicompost from jackfruit showed the highest Ec (1.88 ds / m). Vermicompost from jackfruit has a higher total P2O5 content than vermicompost from durian peels. However, it was found that, OM were not significantly different among treatments.
 Keyword Durian Peels,Jackfruit Peels,Low Quality Bananas
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 13 - 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรม ไมด้า แกรนด์ ทวารวดี นครปฐม