รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ความงามแห่งสตรีรูปแบบแต่ปางบรรพ์จากประติมากรรมปูนปั้นสมัยทวารวดี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Beauty Of Women In Ancient Times From The Stucco Patterns Of The Dvaravati Period.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) SUPITCHAR JINDAWATTANAPHUM ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ความงาม เป็นเสน่ห์ทุกยุคสมัยที่ทุกคนปรารถนา หญิงงาม ย่อมเป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้ที่พบเห็น ความงามแห่งสตรี แม้บุรุษอาชานัยที่ยิ่งใหญ่ หรือยากไร้ ยังปราชัยต่อความงามแห่งอิสตรีนั้น ดังจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทุกชนชาติที่ผ่านมา ความงามที่จะงามแบบใด ขึ้นอยู่กับค่านิยมการมองของคนในยุคสมัยนั้น ความงามอาจไม่ใช่เพียงงามแต่รูปกายภายนอก หากควรงามจากจิตใจภายใน เป็นที่นิยมไม่ต่างกัน หากย้อนผ่านกาลเวลากลับไปแต่ปางบรรพ์ในสมัยทวารวดี นานนับพันปีที่ผ่านมา ความงามของสตรีที่ว่างามในสมัยนั้น สามารถศึกษาได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี จากฝีมือที่สรรค์งานปูนปั้นของช่างในสมัยทวารวดี ที่ได้ถ่ายทอดร่องรอยแห่งความงามนั้นไว้ให้เห็นถึงใบหน้าของสตรี ในงานประติมากรรมปูนปั้นประดับศาสนสถานสมัยทวารวดี การสร้างสรรค์งานปูนปั้นรูปใบหน้าของสตรีทวารวดีนั้น สันนิษฐานได้ว่าช่างฝีมือที่สร้าง
ศาสนสถาน ได้สร้างสรรค์ใบหน้าขึ้นจากสตรีที่มีชีวิตอยู่จริงในสมัยนั้น มากกว่าการจินตนาการขึ้น ดังนั้นใบหน้าจึงบ่งบอกถึงสตรีที่มีชีวิตอยู่จริงในสมัยทวารวดี จากการศึกษาพบว่า มีประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคลที่เป็นสตรีในสมัยทวารวดีทั้งที่ เป็นงานปูนปั้นและดินเผา ปรากฎในศาสนสถานที่ใช้ประดับตกแต่งพระสถูป และเจดีย์ มีการพบเป็นจำนวนมาก ได้แก่ เมืองโบราณนครปฐม เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ประติมากรรมใบหน้าสตรีที่ศึกษาพบว่าความงามของสตรีที่ปรากฎ มีความหลากหลายของความงามที่เป็นเสน่ห์ของคนในยุคนั้น และสามารถสังเกตุได้ว่าใบหน้าสตรีสมัยทวารวดีที่ปรากฎส่วนมาก ถ้าเป็นบุคคลชั้นสูงจะมีโครงหน้าแป้น รูปไข่ มีลักษณะนัยน์ตาที่กลมโต จมูกใหญ่ ริมฝีปากบาง และผมยาว จนอาจกล่าวได้ว่า เสน่ห์อย่างหนึ่งที่คนทุกยุคสมัยนั้นมองว่างาม คือ ตากลม และผมยาว และอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างเสน่ห์แห่งความงามในยุคนั้น ได้แก่ พัสตราภรณ์ และถนิมพิมพาภรณ์ที่ประดับตกแต่งเรือนร่างให้ความมีความงดงามโดดเด่นขึ้น
 คำสำคัญภาษาไทย ความงามของสตรี,ทวารวดี,ประติมากรรมปูนปั้น
 Abstract
Beauty is the charm of every age that everyone desires. A beautiful woman is sure to be attractive to those who see it. Even the great or poor man had to surrender to that woman's beauty. As can be seen from the historical evidence of all human beings in the past that any kind of beauty depends on the viewing values of the people of that era. Beauty itself may not only be beautiful on the outside but should be beautiful from the inside, which is also popular. Originally from the ancient past for thousands of years in the Dvaravati era, the beauty of women who were beautiful in those days can be studied from historical and archaeological evidence. It is also derived from the craftsmanship of stucco craftsmanship in the Dvaravati period that has conveyed traces of the beauty of women's faces in stucco sculptures decorating religious sites in the Dvaravati period. It could be assumed that the craftsmen who built the temple created more faces from the women who lived in those days than imagined. Therefore, the face represents a real woman in the Dvaravati period.  The studies have shown that stucco sculptures of female figures in the Dvaravati period, both stucco and terracotta, appear in religious places used to decorate stupa and chedi. They are found in many places such as Ancient City of Nakhon Pathom, Ancient City of U Thong in Suphan Buri Province, Ancient City of Khu Bua in Ratchaburi Province. and the ancient city of Chansen in Nakhon Sawan Province. The sculpture of women's faces in the study revealed that the beauty of the women that appeared was a variety of beauty that was the charm of the people of that era, and it could be observed that some typical female faces of the Dvaravati period appeared. Noble people will have a round face shape, oval shape, big eyes, big nose, thin lips and long hair. It can be said that one of the charms that people of all ages consider to be beautiful are round eyes and long hair. Furthermore, thing that created the charm of beauty in that era was Pattaraphon and Thanimphimphaphon that decorated the body to make it stand out.
 Keyword woman’s beauty,Dvaravati,stucco sculpture
 กลุ่มของบทความ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565