รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในครัวเรือนของประชาชนจังหวัดเพชรบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) A MODEL FOR THE PROMOTION OF INFECTIOUS WASTE MANAGEMENT BEHAVIORS FOR THE PREVENTION AND CONTROL OF COVID 19 WITHIN HOUSEHOLDS OF THE POPULATION IN PHETCHABURI PROVINCE.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวภัสรียา อุ่นขาว , นายณฐกร นิลเนตร,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) - - , - -,
 บทคัดย่อภาษาไทย
              การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากกการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในครัวเรือนของประชาชนจังหวัดเพชรบุรี ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร จำนวน 35 คน พัฒนารูปแบบดำเนินงานโดยประยุกต์แนวคิดของ PRECEDE Model ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างแรงจูงใจและทัศนคติที่ดี 3) ให้ความรู้ และ 4) สร้างทักษะโดยการสาธิตและฝึกปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมของบุคคลในครอบครัว และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Pair Simple T-Test และสถิติ Wilcoxon signed-rank test
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในครัวเรือนของประชาชนจังหวัดเพชรบุรีได้ดำเนินการในระยะเวลา 6 สัปดาห์ แบ่งเป็น 4 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย 1) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างแรงจูงใจ 3) สร้างความรู้และทัศนคติที่ดี และ 4) สร้างทักษะการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ในครัวเรือน การสรุปผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบฯ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อภาพรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-vale < 0.05)
ดังนั้นหน่วยงานในระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ควรให้ความสำคัญในการวางแผน ออกแบบกิจกรรม และกำหนดนโยบายที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในครัวเรือนโดยประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของครอบครัว เพื่อเป็นแนวทางกำจัดขยะที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงและตัดวงจรการติดเชื้อโรคโควิด 19 ลดอัตราป่วยและควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ต่อไป
 คำสำคัญภาษาไทย รูปแบบ ,มูลฝอยติดเชื้อ,พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ,การป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19
 Abstract
The primary purpose of this quasi-experimental study was to develop a model and evaluate the efficacy of a behavioral promotion of infectious waste management from COVID-19 prevention and control in Phetchaburi province households. The study was conducted on a sample of 35 people. The model was developed by applying the concept of the PRECEDE Model, consisting of four main activities: 1) survey and analysis of basic data, 2) motivation and positive attitude, 3) increasing knowledge, and 4) building skills by demonstrating and practicing the participatory practice of family members. The data was analyzed using the Pair Simple T-Test statistic and the Wilcoxon signed-rank test statistic.
            The results showed that the model for the management of infectious waste from the prevention and control of COVID-19 in the households of the people of the province of Phetchaburi was implemented over a period of six weeks and consisted of four main activities: 1) collecting and analyzing fundamental data 2) create motivation, 3) develop knowledge and a positive attitude, and 4) develop skills in infectious waste management from COVID-19 prevention and control in the home. It was found that the sample group had a level of knowledge Attitudes and behaviors associated with overall infectious waste management were significantly improved (p-vale < 0.05).
Therefore, planning should be a priority for local authorities such as sub-district health-promoting hospitals, local administrative organizations in the area, etc. Using the concept of family participation in health promotion, the event will design and jointly develop policies for the management of infectious household waste. as a guideline for proper waste disposal Reduce the likelihood of breaking the COVID-19 infection cycle, lowering the morbidity rate, and preventing the spread of COVID-19 to the next area.
 Keyword Model ,Infectious Waste ,Infectious Waste Management Behavior ,Covid-19 Prevention and Control
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565