รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในชุมชนบ้านกลาง หมู่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Information Literacy on Social Networks of People in Ban Klang Community, Moo 3 Tambon Ngew Rai, Nakhon Chai Sri District, Nakhon Pathom Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.นุชรี บุญศรีงาม , นางสาวปภาดา คิดรอบ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nucharee Boonsringam , Paphada Kidrob,
 บทคัดย่อภาษาไทย
          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในชุมชนบ้านกลาง หมู่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในชุมชนบ้านกลาง หมู่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในชุมชนบ้านกลาง หมู่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตามตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนชุมชนบ้านกลาง หมู่ 3 ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนชุมชนบ้านกลางมีการรับรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์จาก Facebook มากที่สุด โดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการรับรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรียนรู้วิธีการเข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ด้วยตนเอง ใช้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อประโยชน์ในชีวิตประจำวันและใช้เป็นประจำทุกวัน โดยใช้มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ใช้ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. มีความสนใจในเรื่อง สาระความรู้ ที่อยู่ในรูปแบบวิดีโอ มีความสามารถในการรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทราบวิธีการเข้าใช้งานบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รองลงมา คือ ทราบวิธีการสืบค้นสารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับทำการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย และค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ สามารถอ้างอิงแหล่งที่มาของสารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้ และประชาชนชุมชนบ้านกลางที่มีเพศต่างกันมีความสามารถในการรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกัน มีความสามารถในการรู้สารสนเทศบนเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 
 คำสำคัญภาษาไทย การรู้สารสนเทศ ,เครือข่ายสังคมออนไลน์ ,ความสามารถในการรู้สารสนเทศ
 Abstract
               The purposes of this study were 1) to study the behavior of information literacy on social networks of people in Ban Klang community, moo 3 in Tambon Ngew Rai, Nakhon Chai Sri District, Nakhon Pathom province 2) to study the information literacy capabilities on social networks of people in Ban Klang community, moo 3 in Tambon Ngew Rai, Nakhon Chai Sri District, Nakhon Pathom province and 3) to compare the information literacy capabilities on social networks of people in Ban Klang community, moo 3 in Tambon Ngew Rai, Nakhon Chai Sri District, Nakhon Pathom province by gender, age, education level, and occupation. The sample group used in this research were 304 people in Ban Klang Community, moo 3 in Tambon Ngew Rai, Nakhon Chai Sri District. Nakhon Pathom Province. The research instrument was a questionnaire. Data was analyzed by percentage, means, standard deviation, t-test and OneWay ANOVA. The results of the study found that the information literacy of most people use facebook through mobile phones for recognizing the information on social networks. They learnt how to use social networks themselves and used information on social networks to benefit for everyday life by using it more than 4 hours per day. Mostly used during 18.01 p.m.-24.00 p.m. by focusing on knowledge in videos. The information literacy capabilities on social networks as a whole is at a high level. The item with the highest average was knowing how to access social networks. The second was knowing how to search for information on social networks for homework or assignments and the lowest mean is able to cite sources of information on social networks and people in Ban Klang who have different genders had no difference in information literacy capabilities on social networks as a whole. The people who have different ages, education levels and occupation, the overall information literacy capabilities on social networks was statistically different at the .05 level.
 
 Keyword Information Literacy,Social Network,Information literacy capabilities
 กลุ่มของบทความ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565