รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นและปริมาณฟีนอลิกรวมของใบจันทน์หอม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Phytochemical screening and total phenolic content of Mansonia gagei leaves
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.รุ่งทิวา ชิดทอง , ผศ.ดร.สมปอง ทองงามดี, ผศ.ดร.อรุณรัตน์ สัณฐิติกวินสกุล , อ.ดร.จันจิรา จรามรบูรพงศ์, อ.ดร.สรวีย์ ศิริพิลา, นายนภดล ลากะสงค์, นายทัศนัย โสคันธิกอุบล,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Rungtiwa Chidthong , Sompong Thongngamdee, Arunrat Sunthitikawinsakul , Chanjira Jaramornburapong, Sorawee Siripila, Noppadon Lakasong, Tasanai Sokanthikaubol,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้เป็นการตรวจสอบพฤษเคมีเบื้องต้นและหาปริมาณฟีนอลิกรวมของใบจันทน์หอม ผลการทดสอบพฤกษเคมีเบื้องต้นด้วยปฏิกิริยาการเกิดสี พบสารพฤกษเคมี 9 กลุ่มสาร คือ แอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ คูมาริน ซาโปนิน แทนนิน          ฟลาโบแทนนิน เทอร์ปีนอยด์ สเตียรอยด์ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ ปริมาณฟีนอลิกรวมทดสอบด้วยวิธี Folin-ciocalteu โดยเทียบกับกราฟมาตรฐานกรดแกลลิก  (y=0.0115x, R2=0.9987) ผลปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดหยาบเอทานอลจากใบจันทน์หอม     มีค่าเท่ากับ 48.356±0.695 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมสารสกัดหยาบ 1 กรัม ดังนั้น ใบจันทน์หอมสามารถใช้เป็นแหล่งพฤกษเคมีที่ทดแทนพืชสำคัญที่มีปริมาณลดลงได้ นอกจากนั้นผลการวิจัยสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่นำไปต่อยอดประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตยารักษาโรค เครื่องสำอาง หรืออุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าใบจันทน์หอมซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่พบในประเทศไทย
 คำสำคัญภาษาไทย จันทน์หอม, สารพฤกษเคมี, การทดสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้น, ฟีนอลิก, มาเซอเรชัน
 Abstract
This research aimed to investigate the phytochemical screening and total phenolic content of Mansonia gagei leaves. As the phytochemical screening testing by color reaction, nine groups of phytochemical constituents, alkaloid, flavonoid, coumarin, saponin, tannin, phlobatannin, terpenoid, steroid and cardiac glycoside, were found. Total phenolic content (TPC) was analyzed by Folin-ciocalteu method and compared to gallic acid calibration curve (y = 0.0115x, R2 = 0.9987). As the result, the TPC of the crude extract of M. gagei leaves displayed 48.356±0.695 mgGAE/g crude. Therefore, the results showed that M. gagei leaves can be used as a phytochemicals source. In addition, the results can be used as the phytochemicals data for further benefits in pharmaceuticals, cosmetics or food industries and adding the value of M. gagei leaves that are the medicinal plants found in Thailand.
 Keyword Mansonia gagei, phytochemical, phytochemical screening, phenolic, maceration
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565