รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การจัดการตนเองของชุมชนตลาดบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Self-management of the Bang Luang Market Community, Bang Luang Subdistrict, Bang Len District, Nakhon Pathom Province.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายศุลชัย สระทองหัก ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Sulachai Srathonghak ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
              บทความนี้นำเสนอแนวทางการจัดการตนเองของชุมชน ผ่านการทบทวนหลังการปฏิบัติงานกระบวนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง มุ่งให้เห็นถึงกระบวนการและกลไกการขับเคลื่อนความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และสามารถเป็นชุมชนพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
            จากบทเรียนสรุปได้ว่า การจัดการตนเองของชุมชนตลาดบางหลวง มีการขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมที่บูรณาการกับองค์ประกอบในหลายมิติ ประกอบด้วยมิติของคน มิติของความเป็นชุมชนเชิงท่องเที่ยว และมิติสังคมและอัตลักษณ์เข้าด้วยกัน โดยการนำเสนอ คือ 1) การดำเนินงานตามลักษณะศักยภาพของชุมชน 2) ระบบการจัดการตนเองของชุมชน 3) การประสานงาน และ 4) ผลลัพธ์ของการจัดการตนเองของชุมชน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเป็นผู้มีจิตสาธารณะ ซึ่งผลการดำเนินงานจะมุ่งถึงจุดดีจุดเด่น อัตลักษณ์ รากเหง้าของประเพณีวัฒนธรรม และความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในกระบวนการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยนแปลงของชุมชน เพื่อให้การจัดการตนเองของชุมชนตลาดบางหลวงดำเนินไปสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
 คำสำคัญภาษาไทย การจัดการตนเอง,ชุมชน,ตลาดบางหลวง
 Abstract
            This article presents the self-management of the Bang Luang Market community through a post-operative review of the participatory self-management process of the Bang Luang Market community. It aims to show processes and mechanisms for driving a strong community and can be a sustainable self-reliant community.  
            The study can be concluded that Self-management of the Bang Luang Market Community. It is activity-driven integrated with multidimensional elements, contains the dimensions of people. The dimension of being a tourism community and social dimensions and identity together. The presentations were 1) the implementation of the community's potential   2) the community self-management system  3) coordination and  4) the results of community self-management, focusing on promoting the participation of the community in being a public mind. The performance will focus on good points, strengths, identity, roots of cultural traditions and pride in local wisdom. It is to be used in the process of community development and change to enable self-management of the Bang Luang Market community to lead to sustainable community development.
 Keyword Self-management,Community,Bang Luang Market
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565