รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย แนวทางการพัฒนาการให้บริการรถโดยสารสวัสดิการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Guideline for Improving Shuttle Bus Service In Nakhon Pathom Rajabhat University
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายฐาฤทธิ์ ส่งแสง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Tarid Songsang ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
     รถโดยสารสวัสดิการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า มีขนาด 22 ที่นั่ง วิ่งให้บริการภายในมหาวิทยาลัย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นับเป็นการขนส่งสาธารณะรูปแบบหนึ่ง ในหลายๆ มหาวิทยาลัยทั้งใน และต่างประเทศ ได้รับความนิยมในการให้บริการรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการลดจำนวนยานพาหนะที่สัญจรภายในมหาวิทยาลัย และหันมาใช้รถโดยสารแทน การให้บริการรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัยสมควรที่จะได้รับการประเมินความเหมาะสมของการให้บริการต่อผู้โดยสาร ทั้งในรูปแบบ ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับการศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้อมูลการวิ่งของรถโดยสาร (Travel Time) และข้อมูลจำนวนผู้โดยสาร (Passenger) ที่ขึ้น-ลง ในแต่ละป้ายโดยสาร ในช่วงวัน-เวลาทำการในสถานการณ์ปกติ (ก่อนสถานการณ์โควิด-19) โดยผลการศึกษา พบว่า ความเหมาะสมของการให้บริการ จำนวนรถโดยสาร เส้นทาง และความถี่ในการวิ่งให้บริการ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของผู้โดยสาร ส่งผลทำให้มีผู้โดยสารตกค้างในชั่วโมงเร่งด่วนในบางป้ายโดยสารอยู่เป็นประจำ การศึกษานี้จึงได้แนะนำแนวทางในการพัฒนาการให้บริการ โดยแบ่งแนวทางการปรับปรุงออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ แนวทางการปรับปรุงในระยะสั้น เช่น การยุบรวมป้าย การปรับลดเส้นทาง เป็นต้น และแนวทางการปรับปรุงในระยะยาว เช่น การติดตั้งระบบ GPS นำไปสู่การพัฒนาระบบในการแจ้งข้อมูลรถโดยสาร เป็นต้น ทั้งนี้ภาพรวมเพื่อเป็นการพัฒนาระบบการขนส่ง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเดินทางของนักศึกษา และบุคลากร ภายในมหาวิทยาลัย
 คำสำคัญภาษาไทย การขนส่งสาธารณะ,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,รถโดยสารสวัสดิการ
 Abstract
     Shuttle bus in Nakhon Pathom Rajabhat University is an electric bus with 22 seats. Shuttle bus that service in university and free charge. Most popular public transport in many universities both in and abroad. The main objective to reduce vehicles travel in the university. Shuttle bus will deserves to be assessed on suitability of service to passengers both in form of qualitative data and quantitative data. For this study, quantitative data including bus travel time and number of passengers during business hours under normal situation (Before Covid-19 situation in Thailand) by the results of the study found suitability of buses, routes and frequency of service is not enough compared to number of passengers. As a result, there are stranded passengers during peak hour in some bus stops. This study therefore recommends guideline for improving shuttle bus service in Nakhon Pathom Rajabhat University. Guidelines for improving are divided into 2 forms, short-term such as merge bus stop, route reductions and long-term such as installation GPS system leading to development of bus information system. In this regard, for development of transportation which brings benefits to travel of students and personnel within Nakhon Pathom Rajabhat University.
 Keyword Shuttle Bus,Public Transport,Nakhon Pathom Rajabhat University
 กลุ่มของบทความ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565