รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การต่อสู้เพื่อเข้าถึงการใช้ประโยชน์และการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง: กรณีศึกษาประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The insistence on access, utilization, and rehabilitation of coastal resources: A case study of local fisheries in Trang Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายสุรินทร์ภรณ์ ศรีอินทร์ , ผศ.มานะ ขุนวีช่วย, ผศ.นฤมล ขุนวีช่วย, นางสาวนุชนารถ วงศ์จำปา,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) SURINPORN SRI-IN , Mana Kunweechuay, Narumol Kunweechuay, Nuchanard Wongjumpa,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การเข้าถึงการใช้ประโยชน์และการร่วมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลโดยชาวประมงพื้นบ้านตรัง ส่งผลต่อวิถีชีวิตที่ดีขึ้นของชาวประมงทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลได้มากขึ้น ดังนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจึงสมควรที่จะนำไปขยายผลเพื่อให้สังคมได้รับรู้ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล และศึกษาการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลของชาวประมงพื้นบ้าน จังหวัดตรัง ผลการศึกษาพบว่าการต่อสู้เพื่อเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรช่วงก่อนปี พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะนั้นทรัพยากรทางทะเลยังมีความอุดมสมบูรณ์ จากการค้นคว้าเอกสารจากหอจดหมายเหตุพบประเด็นการต่อสู้เพื่อการเข้าถึงทรัพยากรทางทะเลระหว่างรัฐสยามกับคนสัญชาติญี่ปุ่นที่ลักลอบทำประมงในทะเลอันดามัน เวลาดังกล่าวเป็นช่วงการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เหตุการณ์นี้อธิบายได้ว่าเป็นการเตรียมตัวของญี่ปุ่นก่อนเข้าสู่สงครามโลกนั่นเอง ต่อมาเป็นช่วงการรีดเค้นทรัพยากรประมงตรัง ในปี พ.ศ. 2510 จนถึงปลายปี พ.ศ. 2520 ช่วงดังกล่าวมีการเข้ามาของประมงพาณิชย์ โดยเฉพาะเรืออวนลาก อวนรุน เป็นการทำประมงอย่างเข้มข้นส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรม และชาวประมงพื้นบ้านมีคุณภาพชีวิตลดลง สำหรับการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลพบว่ามีประเด็นสำคัญคือ การเกิดขึ้นขององค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้และองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ส่งเสริมให้รักษาทรัพยากรของตัวเอง การจัดทำป่าชายเลนชุมชน เกิดคนทำงานด้านการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการฟื้นฟูทรัพยากรประมงด้วยการสร้างความรู้ มีการใช้พลังของกลุ่มและเกิดเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน และการใช้พะยูนช่วยเชื่อมร้อยผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลได้อย่างลงตัว
 คำสำคัญภาษาไทย ทรัพยากรชายฝั่ง,ประมงพื้นบ้าน ,จังหวัดตรัง
 Abstract

The insistence on access, utilization, and rehabilitation of coastal resources in Trang Province has resulted in the local fishermen having more access to marine resources, which should be extended to the community. This qualitative research aims to study the access and method of rehabilitation of marine resources by the local fishermen in Trang Province. We found that the insistence on access and utilization of marine resources started before the 1957s when those resources were plentiful. Based on the literature review, the issue of fighting for access to marine resources began between native Siamese and Japanese people who did illegal fishing in the Andaman Sea at the beginning of World War II. This is inferred that Japan had prepared food itself before the world war started. Later, an extrusion period for Trang fishery resources has arisen from 1967 to the end of the 1977 decades, when the commercial fisheries, especially trawl nets and push nets were used as intensive fishing gears, resulting in the deterioration of marine resources which is directly affected to local fishermen's income. The main issues in the restoration process of marine resources include the establishment of community organizations associated with local fishermen and non-governmental organizations that always encouraged and conserved their resources as well as the setting up of mangrove communities. The restoration of marine resources should be done based on the knowledge created by the local fishermen’s networks. In addition, giving knowledge on dugongs could connect several groups of people to realize marine resource conservation.
 Keyword Coastal resources,Local fisheries,Trang Province
 กลุ่มของบทความ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565