รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การศึกษาแรงจูงใจและการยอมรับเทคโนโลยีของคนไข้ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรม ของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The study of patient’s motivation and technology acceptance affecting the decision to use telemedicine of the spine specialist hospital |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายภูวนาท เช้าวรรณโณ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Puwanat Chaowanno , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาหัวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแรงจูงใจของคนไข้ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (2) ศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีของคนไข้ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (3) ศึกษาทัศนคติของคนไข้เกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดของคนไข้ ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้โทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการตลาดให้กับโรงพยาบาลเฉพาะทางนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยเชิงปริมาณด้วยการทำแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างคนไข้ที่เคยใช้โทรเวชกรรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจด้านเหตุผลมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (2) การยอมรับเทคโนโลยีด้านประโยชน์และใช้งานง่ายมีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง (3) ส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการ ด้านกระบวนการ และด้านหลักฐานกายภาพมีผลต่อการตัดสินใจของคนไขในการใช้บริการโทรเวชกรรมของโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง นอกจากนี้จากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ พบว่าผู้บริหารและหัวหน้าแผนกมีความคิดเห็นว่าคนไข้ยอมรับเทคโนโลยีเพราะมีความสะดวก ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย เลี่ยงโรคระบาดโควิด 19 โดยระบบต้องใช้งานง่ายและเสนอแนะให้เพิ่มช่องทางการติดต่อให้หลากหลายยิ่งขึ้น ด้านคนไข้โดยส่วนใหญ่มีความเห็นว่าไม่ต้องรอแพทย์ สะดวก ประหยัดเวลา ใช้งานง่ายตรงตามความต้องการใช้ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มีการแสดงผลที่ชัดเจนทันสมัย (4) โรงพยาบาลสามารถนำผลวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาบริการโทรเวชกรรมของโรงพยาบาลและเพื่อชักชวนคนไข้ให้ใช้โทรเวชกรรม โดยทำการประชาสัมพันธ์ผ่านโบรชัวร์และช่องทางเว็บไซต์ รวมถึงการให้พนักงานแนะนำและชักชวนคนไข้ให้เล็งเห็นถึงประโยชน์และการใช้งานง่ายของการใช้โทรเวชกรรม
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
แรงจูงใจ,การยอมรับเทคโนโลยี, ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจใช้บริการโทรเวชกรรมของคนไข้ |
Abstract |
The aims of this study were (1) to investigate the patients’ motivations affecting their decisions to use telemedicine of the spine specialty hospital (2) to study factors related to technology acceptance of patients that affect their decision to use the telemedicine of the spine specialty hospital (3) to study the patients’ attitudes regarding marketing mix that influence their decision to use the telemedicine of the spine specialty hospital (4) to provide marketing guide for the specialty hospital in order to create the competitive advantage. This study used mixed method; qualitative and quantitative approaches. The quantitative research by using questionnaire survey with patients who have used telemedicine. The statistics for analyzing data were percentage, mean, standard deviation, and multiple linear regression with the statistical significance 0.05. According to the results, (1) rational motivation affects the decision to use the telemedicine of the spine specialty hospital, (2) The acceptance on technology in term of benefit and ease of use the decision to use the telemedicine of the spine specialty hospital, (3) The marketing mix in term of product, channel, process, and physical evidence affect patients’ decisions to use the hospital’s telemedicine. In addition, from qualitative research by interview, the result found that the director and department manager indicated that most patients accept technology because of convenience, less time-consuming and cost, avoidance Corona Virus 19, as well as easiness to use the system, and various contact channels. For patients’ perspectives, most patients agree that no waiting physicians, convenance, less time-consuming, easiness to use and response to all telephone signal with showing modern and clear outcome. (4) The hospital can apply this research result to improve telemedicine service and to persuade patients to use telemedicine by using public relations via brochures and website, as well as, encouraging personnel to suggest patients by showing the benefits and easy usage of telemedicine.
|
Keyword |
motivation, technology acceptance, attitude toward marketing mix, decision to use telemedicine |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|