รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาล)

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Problems and Obstacles in Weight Control of The 3rd Year Nursing Students, Rambhai Barni Rajabhat University.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาววันใหม่ ดาวเรือง ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) - - ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
 
วันใหม่ ดาวเรือง1, ศิริกานด์ดา ชามารัตน์2, ศิริพร บัวบุญ3, นฤชา แซ่โค้ว4,
สุพรรษา เวียงจันทน์5, สุภัฒชฎา คำแพทย์6, ศักดิ์นรินทร์ หลิมเจริญ7
 
1 คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี
*saknarin.l@rbru.ac.th
 
บทคัดย่อ
 
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเลือกได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาล เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 21 ปี คิดเป็นร้อยละ 72.0 (M = 20.82, S.D = 0.560)  ส่วนใหญ่มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 40-49 กิโลกรัม รองลงมากคือ 50-59 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 44.0 และ 28.0 ตามลำดับ (M = 55.00, S.D = 12.39) ส่วนใหญ่มีส่วนสูงอยู่ในช่วง 150-159 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 56.0 (M = 160.18, S.D. = 4.70) และส่วนใหญ่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1 วัน คิดเป็นร้อยละ 34.0 รองลงมาคือไม่ออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 32.0 (M = 1.24, S.D. =1.19)
2. ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมน้ำหนักของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคด้านปัจจัยเสริมโดยรวมมากที่สุด  (M = 2.95, S.D. = .67) รองลงมา ได้แก่ ด้านปัจจัยนำโดยรวม (M = 2.88, S.D. = .65) และด้านปัจจัยกระตุ้น (M = 2.35, S.D. = .89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านปัจจัยนำโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคที่มีคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความเชื่อเกี่ยวกับอาหาร (M = 3.60, S.D. = 1.11) ทัศนคติทางบวกต่ออาหาร (M = 2.97, S.D. = .81) และขาดการควบคุมตนเอง (M = 2.93, S.D. = .76) ปัจจัยที่มีคะแนนน้อยสุด ได้แก่ การจัดการความเครียดไม่เหมาะสม (M = 2.07, S.D. = .89) ส่วนด้านปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ลักษณะเฉพาะของวิชาชีพอยู่ในระดับน้อย (M = 2.35, S.D. = .89) และด้านปัจจัยเสริมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ การสนับสนุนของครอบครัว  (M = 3.32, S.D. = .73) และขาดระบบบริการส่งเสริมสุขภาพ (M = 2.56, S.D. = .81)
จากผลการวิจัยนี้ จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลได้รับรู้ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมน้ำหนัก และหาวิธีแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างเหมาะสม จะส่งผลในการควบคุมน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วน และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
 คำสำคัญภาษาไทย ปัญหาและอุปสรรค, การควบคุมน้ำหนัก, นักศึกษาพยาบาล, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี
 Abstract
Problems and Obstacles in Weight Control of The 3rd Year Nursing Students, Rambhai Barni Rajabhat University.
 
Wanmai Daoruang1, Sirikanda Chamarat2, Siriporn Buaboon3, Naruechar Sea-Kow4,
Supansa Wiangchan5, Suphatchada Khamphaet6, Saknarin Limcharoen7
 
1 Faculty of Nursing Rambhai Barni Rajabhat University, Chantaburi.
*saknarin.l@rbru.ac.th 
 
Abstract
 
The study is survey research to determine problems and obstacles in weight control of the 3rd year nursing students, Rambhai Barni Rajabhat University. The 50 samples were specifically selected from the 3rd year nursing students. The research tool was a questionnaire toward initiation data and problems and obstacles in weight control of nursing students. Data had been collected from October to December 2021. Data was analyzed using descriptive statistics such as frequency, percentage, mean and standard deviation.
The result showed that,
1. Most of the nursing students were 21 years old with percentage of 72.0 (M = 20.82, S.D = 0.560); weight during 40-49 kilograms and 50-59 kilograms with percentage of 44.0 and 28.0 respectively (M = 55.00, S.D. = 12.39) height during 150-159 centimeters with percentage of 56.0 (M = 160.18, S.D. = 4.70) and exercise one day per week and no exercise with percentage of 34.0 and 32.0 respectively (M = 1.24, S.D. =1.19).
2. The problems and obstacles in weight control of the 3rd year nursing students were the enabling factor (M = 2.95, S.D. = .67), the predisposing factor (M = 2.88, S.D. = .65), and the precipitating factor (M = 2.35, S.D. = .89). The predisposing factor was in moderate level; the 3 highest were believe of food (M = 3.60, S.D. = 1.11), positive attitude to food (M = 2.97, S.D. = .81) and lack of self control (M = 2.93, S.D. = .76) and the lowest was inappropriate of stress management (M = 2.07, S.D. = .89). The precipitating factor was particular nurse professional that was in low level (M = 2.35, S.D. = .89). The enabling factor was in moderate level; family support (M = 3.32, S.D. = .73) and lack of health promoting system support (M = 2.56, S.D. = .81).
This may lead to a better understanding of problems and obstacles in weight control among nursing students, and to develop the effective weight-control program. It may be a guideline to change self habits for weight control, prevent obesity and its complication to get well-being and enhance quality of life in later
 Keyword problems and obstacles, weight control, nursing students, Rambhai Barni Rajabhat University
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาล)
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565