รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาล)
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลของการใช้หนังสืออิเลคทรอนิคส์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวัยผู้ใหญ่ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Effects of Using Electronic Book about Coronavirus Disease 2019 among Adult Population |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.วรางคณา สายสิทธิ์ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Warangkana Saisit , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้เป็นกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เฉลี่ยเกี่ยวกับ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อนใช้และหลังใช้หนังสืออิเลคทรอนิคส์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกลุ่มประชาชนวัยผู้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID19 ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 130 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่หนังสืออิเลคทรอนิคส์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวัยผู้ใหญ่ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นภายใต้ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความเป็นไปได้ของการนำไปใช้ที่ระดับมากที่สุด (  4.88, SD 0.35) และมีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signe-Ranks test
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังใช้คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังใช้หนังสืออิเลคทรอนิคส์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูงกว่าก่อนใช้หนังสืออิเลคทรอนิคส์เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -9.89, P < .001)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ผลของการใช้ ,หนังสืออิเลคทรอนิคส์ ,โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ,วัยผู้ใหญ่ |
Abstract |
This study was a quasi-experimental, one-group pre-posttest design, to compare the average knowledge scores about Coronavirus Disease 2019 (COVID19) before and after using the electronic book about COVID-19 among adults. Subjects were 130 people who received the COVID19 vaccination at the vaccine center of Nakhon Pathom Rajabhat University. The electronic book about COVID19 was developed by the researcher under the health literacy of COVID19. It has the highest feasibility of the Electronic Book (  4.88, SD 0.35) and content validity index was 1.0. The data collection tool was the COVID19 Knowledge Test, which shows the content validity was 1.0 and the Cronbach's alpha coefficient was .85. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Signed Ranks test.
The results showed that the mean knowledge score about COVID19 after used electronic book about COVID19 was higher than before used electronic book significantly (z = -9.89, P < .001)
|
Keyword |
The effects of using,Electronic Books,Coronavirus Disease 2019,Adult Population |
กลุ่มของบทความ |
การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาล) |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|