รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาล)

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลของการใช้แอพพลิเคชันการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีพบผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น นอกโรงพยาบาลในนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Effects of Using Cardiopulmonary Resuscitation Application for Out-of-Hospital Cardiac Arrest Person among the 1st Year Students of Bachelor of Nursing Science Program, Nakhon Pathom Rajabhat University
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.วรางคณา สายสิทธิ์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Warangkana Saisit ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เฉลี่ยและเปรียบเทียบคะแนนความมั่นใจเฉลี่ยในการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีพบผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลก่อนใช้และหลังใช้แอพพลิเคชัน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่แอพพลิเคชันการช่วยฟื้นคืนชีพกรณีพบผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ชื่อ อีซี่ ซีพีอาร์ (Easy CPR) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นภายใต้แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพปี ค.ศ.2020 โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา มีระดับคุณภาพอยู่ที่ระดับมากที่สุดและมีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ มีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .85 และ 2) แบบสอบถามความมั่นใจในการช่วยฟื้นคืน มีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Sign Rang test
ผลการวิจัยพบว่า
1) คะแนนความรู้เฉลี่ยหลังใช้แอพพลิเคชัน Easy CPR สูงกว่าก่อนใช้แอพพลิเคชัน Easy CPR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = -3.69, P < .05)
2) คะแนนความมั่นใจเฉลี่ยหลังการใช้แอพพลิเคชัน Easy CPR สูงกว่าก่อนใช้แอพพลิเคชัน Easy CPR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งด้านการประเมินผู้ที่สงสัยว่ามีภาวะหัวใจหยุดเต้น (z = -2.17, P < .05) ด้านการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน (z = -2.83, P < .05)  ด้านการกดนวดหัวใจ (z = -2.55, P < .05) และด้านการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจภายนอก  (z = -3.02, P < .05)
 คำสำคัญภาษาไทย แอพพลิเคชัน ,การช่วยฟื้นคืนชีพ ,ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ,นักศึกษาพยาบาล
 Abstract
This study was a quasi-experimental, one-group pre-posttest design, to compare the mean knowledge scores and mean confidence scores of cardiopulmonary resuscitation in patients with out-of-hospital cardiac arrest before and after using the app. The sample study selected by purposive sampling included 30 students from the First Year Bachelor of Nursing Program. The adopted research tool was a cardiopulmonary resuscitation application in cases of out-of-hospital cardiac arrest (Easy CPR) developed by the researcher to which in accordance on the 2020 Cardiopulmonary Resuscitation Guidelines by the American Heart Association. The quality level revealed at the highest level and the content validity was 1.0. The tools of data collection were 1) Cardiopulmonary resuscitation knowledge test which shows the content validity was 1.0 and the Cronbach's alpha coefficient was .85 and 2) the resuscitative confidence questionnaire with a content validity of 1.0 and Cronbach's alpha coefficient was .92. The data collected were interpreted and analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Wilcoxon Sign Rang test.
The findings of the study indicated
1) The mean knowledge score after using Easy CPR application was significantly higher than before using Easy CPR application (z = -3.69, P < .05).
2) The mean confidence score after Easy CPR application was significantly higher than before Easy CPR application. Both the assessment of suspected cardiac arrest (z = -2.17, P < .05), emergency assistance (z = -2.83, P < .05), cardiac compression (z = - 2.55, P < .05) and external defibrillator use        (z = -3.02, P < .05)
 Keyword Application,Cardiopulmonary resuscitation,Out-of-hospital cardiac arrest,Student Nurse
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal (พยาบาล)
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565