รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในรายวิชาวิทยาการคำนวณ ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านจอมบึง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Development of E-Learning on Computing Science with Cooperative Learning for Grade 5 Students at Banjombung School |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวนันฐิยา สิทธิวงษ์ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Nantiya Sittiwong , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ในรายวิชาวิทยาการคำนวณร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อประเมินคุณภาพบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านจอมบึง จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 3) การทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทเรียนออนไลน์ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน มีคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.90 และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.86 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.14
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
บทเรียนออนไลน์, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, วิชาวิทยาการคำนวณ |
Abstract |
The purposes of the research were as follows: 1) to develop online lessons on Computing Science with cooperative learning techniques for Grade 5, Ban Chom Bueng School, 2) to assess the quality of the developed online lessons, 3) to find the academic achievements of students before and after learning with the online lessons with cooperative learning management, and 4) to study the satisfaction of the learners towards the online lessons with cooperative learning management. The sample group were 20 Grade 5 students at Ban Chom Bueng School 20. The tools used in the research were as follows: 1) the online lessons, 2) pretest, and posttest, and 3) the students’ satisfaction assessment forms. The statistics used in the data analysis were as follows: 1) mean, 2) standard deviation, and 3) t-test
The research findings showed that 1) the online lessons assessed by 3 experts had the quality of the content at a high level which had the mean of 3.93 and the standard deviation of 0.90, and the quality of the media production techniques at a high level which had the mean of 4.26 and the standard deviation of 0.86 , 2) the students' academic achievement after learning with the developed online lessons was statistically significantly higher than before learning at the 0.5 level, and 3) the students’ satisfaction assessment results was at a high level which had the mean of 4.97 and the standard deviation of 0.14.
|
Keyword |
E-Learning, Cooperative Learning, Computing Science |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|