รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ต้นแบบจำลองเครื่องรดน้ำในความชื้นที่เหมาะสมสำหรับแปลงผักกรณีศึกษาต้นหอม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Watering Machine Prototype in appropriate Huminity for Vegetable Planting.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายณัฐพล ทองดอนเหมือน ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nattapol Tongdonmuean ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
        งานวิจัยต้นแบบจำลองเครื่องรดน้ำในความชื้นที่เหมาะสมสำหรับแปลงผัก กรณีศึกษาต้นหอม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาต้นแบบจำลองเครื่องรดน้ำในความชื้นที่เหมาะสมสำหรับแปลงผัก กรณีศึกษาต้นหอม 2) หาตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางเซนเซอร์วัดความชื้นของต้นแบบจำลองเครื่องรดน้ำในความชื้นที่เหมาะสมสำหรับแปลงผัก กรณีศึกษาต้นหอม เนื่องจากการรดน้ำแบบใช้แรงงานคนรดน้ำกับระบบรดน้ำแบบสปริงเกอร์โดยไม่มีการควบคุมทำให้การรดน้ำไม่มีความสม่ำเสมออาจทำให้น้ำไม่ทั่วพื้นที่และทำให้น้อยเกินความจำเป็นของต้นหอมจึงทำให้น้ำที่เกินสูญเปล่า จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานวิจัยนี้และได้จัดทำอุปกรณ์มาช่วยพัฒนาในการช่วยรดน้ำแปลงต้นหอม โดยได้นำเซนเซอร์มาพัฒนาและปรับปรุงให้ควบคุมการทำงานของสปริงเกอร์ให้เหมาะสมกับแปลงต้นหอม ซึ่งเซนเซอร์สามารถควบคุมความชื้นได้ตามวัตถุประสงค์และแม่นยำอย่างแท้จริงผลการทดลองได้ทดลอง 2 รูปแบบ (1) เปรียบเทียบการทำงานของระบบเซนเซอร์ทั้ง 2 ชนิด โดยมีเซนเซอร์ชนิดที่ 1 (Soil Moisure Sensor Module V 1) [1] และชนิดที่ 2 (Soil Humidity Detection Sensor) โดยมีการตรวจสอบการทำงานของเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ชนิด จากไฟล์ข้อมูลใน Sd card ผลการทดลองพบว่า Soil Moisture Sensor Module v1 คือตัวที่มีความเสถียรและรับค่าการทำงานเร็วและแม่นยำกว่าเซนเซอร์ชนิดที่ 2 (2) การทดลองหาระยะการปักเซนเซอร์ที่เหมาะสม เมื่อได้เซนเซอร์ชนิดที่เหมาะสมจากการทดลองที่ 1 คือเซนเซอร์ชนิดที่ 1 (Soil Moisure Sensor Module V 1) โดยทำการปักเซนเซอร์ในแปลงที่ 1 ปักเซนเซอร์ไว้ห่างจากสปริงเกอร์ 10 เซนติเมตร แปลงที่ 2 ปักเซนเซอร์ไว้ห่างจากสปริงเกอร์ 30 เซนติเมตร แปลงที่ 3 ปักเซนเซอร์ไว้ห่างจากสปริงเกอร์ 60 เซนติเมตร ผลการทดลองปรากฏว่า แปลงที่ 3 มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุด รองลงมาคือ แปลงที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ทำให้สรุปได้ว่าปักเซนเซอร์ไว้ห่างจากปริงเกอร์ 60 เซนติเมตร มีความเจริญเติบโตของต้นหอม มากกว่า ปักเซนเซอร์ไว้ห่างจากสปริงเกอร์ 10 เซนติเมตรและ 30 เซนติเมตร
       
 คำสำคัญภาษาไทย แปลงต้นหอม เปรียบเทียบการทำงานของระบบเซนเซอร์ ทดลองหาระยะการปักเซนเซอร์ที่เหมาะสม
 Abstract
       Prototype research of watering machine in suitable humidity for vegetable plot Onion case study The objectives were to 1) design and develop a model of a watering machine in suitable humidity for vegetable plots. Onion case study 2) Determine the optimal location to place the moisture sensor of the watering machine model in the right humidity for the vegetable plot. Onion case study, Since manual watering with an uncontrolled sprinkler system results in inconsistent watering, it can lead to insufficiency of water throughout the area and underproduction of the onion, resulting in wasted excess water. Therefore, technology has been used in this research and a device has been developed to help in watering the onion plot. by bringing the sensor to develop and improve the sprinkler control to suit the onion plot. which the sensor can control the humidity according to the purpose and with absolute accuracy. The results of the experiments were 2 types of experiments. (1) Comparison of the operation of the two types of sensor systems, with sensor type 1 (Soil Moisure Sensor Module V 1) and type 2 (Soil Humidity Detection Sensor), by checking the operation of both types of sensors, from the data file on the Sd card, the results show that Soil Moisture Sensor Module v1 is more stable and receives faster and more accurate performance than type 2 sensor (2). When a suitable sensor is obtained from experiment 1, it is Sensor Type 1 (Soil Moisure Sensor Module V 1), by placing the sensor in Plot 1, placing the sensor 10 cm from the sprinkler, Plot 2, placing the sensor 30 cm from the sprinkler, Plot 3 placing the sensor 60 cm from the sprinkler. The results showed that plot 3 had the best growth, followed by plot 1 and plot 2, respectively. It was concluded that the sensor placed 60 cm from the springer had more onion growth than the sensor planted. Keep a distance of 10 centimeters and 30 centimeters from the sprinkler.
 Keyword green onion plot, comparison of sensor system function Try to find the right sensor embroidering distance.
 กลุ่มของบทความ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565