รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในสถานการณ์โควิด-19 ตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Factors related to Stress among Village Health Volunteers in COVID-19 Situation, Sisathong Sub-district, Nakhon Chaisi District, Nakhon Pathom Province |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.พรภิไล ถนอมสงัด , นางสาวจิตมาส พรวรรณะศิริเวช, นางสาวนิตยา จันทร์แทง, นางสาวศศิขวัญ นรสิงห์, นางสาววรินทร พันธ์พีระพิชย์, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Pornpilai Thanomsangad ,
Jittamas Pornwannasiriwech,
Nittaya Chanthaeng,
Sasikhwan Norasing,
Warintorn Panpeerapith, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคในชุมชน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดจากการทำงาน การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของ อสม. ในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ อสม. ตำบลศีรษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียด ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ปัจจัยด้านการทำงาน 3) การรับรู้ถึงโรคโควิด-19 4) ความกังวลต่อโรคโควิด-19 และ 5) แบบวัดระดับความเครียด (ST5) ผลการศึกษา พบว่า อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.4 อายุ 61-70 ปี ร้อยละ 44.2 จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 53.5 มีประสบการณ์ในการทำงาน ≤ 3 ปี ร้อยละ 25.6 และระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่อยู่ในช่วง 1-2 วัน/สัปดาห์ ร้อยละ 46.5 อสม. มีการปฏิบัติงานตามบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3.96±0.39) มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.40±0.45) มีการรับรู้ถึงโรคโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.27±0.39) และมีความกังวลต่อโรคโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3.77±0.77) ส่วนความเครียดของ อสม. ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 83.7 รองลงมาคือ ระดับปานกลาง ร้อยละ 14.0 และระดับมาก ร้อยละ 2.3 นอกจากนี้ไม่พบความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงโรคโควิด-19 และปัจจัยด้านความกังวลต่อโรคโควิด-19 กับความเครียดของ อสม.
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ความเครียด,อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ,สถานการณ์โควิด-19 |
Abstract |
During the COVID-19 pandemic, village health volunteers (VHVs) played an important role in preventing the spread of diseases in the community. This can lead to work-related stress. The objective of this descriptive study was to study the factors related to stress among village health volunteers in the COVID-19 situation. The study population was 43 village health volunteers at Sisathong Sub-district, Nakhon Chaisi District, Nakhon Pathom Province. The research instrument was the stress-related factors questionnaire consisting of 5 parts: 1) personal factors, 2) work-related factors, 3) perception of COVID-19, 4) concern on COVID-19 and 5) ST5 stress questionnaire. The results found that most of the village health volunteers were female (88.4%), 61-70 years old of age (44.2%), primary education (53.5%), ≤ 3 years of experience (25.6%), and 1-2 working days per week (46.5 %). The overall role performance in disease control was a high level (3.96±0.39). The overall interpersonal relationship was at the highest level (4.40±0.45). The overall perception of COVID-19 was the highest level (4.27±0.39). The overall concern on COVID-19 was a high level (3.77±0.77). Most participants have a low-stress level (83.7%) followed by moderate stress level (14.0%) and high-stress level (2.3%), respectively. Moreover, there was no relationship between personal factors, work-related factors, perception of COVID-19, and concern on COVID-19 factor with the stress of village health volunteers.
|
Keyword |
Stress,Village Public Health Volunteers,COVID-19 situation |
กลุ่มของบทความ |
สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|