รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลของนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Effects of innovations to promote coronavirus 2019 disease prevention behaviors: A Case Study of Pak Nam Subdistrict, Bang Khla District, Chachoengsao Province |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ศิรินันท์ คำสี , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Sirinun Kumsri , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 : กรณีศึกษาตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 346 คนโดยการสุ่มอย่างง่ายจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน ในการประมาณค่าสัดส่วนของประชากรที่อาศัยในพื้นที่ตำบลปากน้ำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Dependent Sample t-test โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นวัตกรรม “ไม้บรรทัดวัดความเสี่ยง” ผลการศึกษา พบว่า หลังการใช้นวัตกรรมไม้บรรทัดวัดความเสี่ยงกลุ่มตัวอย่างพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามควรติดตามและมีนโยบายระดับชุมชนเพื่อยกระดับส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ให้ครอบคลุมทุกครัวเรือน
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
นวัตกรรม พฤติกรรมการป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
Abstract |
This research is a quasi-experimental research aimed to study the effect of innovation to promote behavior in prevention of 2019 coronavirus infection: a case study of Pak Nam Sub-district, Bang Khla District, Chachoengsao Province. A sample of 346 people by simple random sampling from Krejcie & Morgan tables to estimate the proportion of the population living in Pak Nam Subdistrict. The data were analyzed by determining percentage, mean, standard deviation and Statistical Dependent Sample t-test. The tools used in the experiment were the innovative “Risk Measuring Ruler”. The results of the study found that after using the innovative ruler to measure the risk of the sample group, the prevention behavior of corona virus 2019 was significantly higher than before the experiment at the .05 level. However, there should be monitoring and community-level policies to enhance the prevention of coronavirus disease 2019 behavior to cover every household.
|
Keyword |
innovation disease prevention behaviors coronavirus 2019 |
กลุ่มของบทความ |
สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|