รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทย
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Effects of Social Media on Sexual Behaviors Among Thai Adolescents
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) chaiyanan muanphetch ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพรรณนาแบบเชิงตัดขวาง (Cross-Sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาผลของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 5 แห่ง จำนวน 1,321 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในรูปจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ต่ำสุด วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation Coefficient) ที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95
 
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.1 เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 99.5 และเข้าใช้สื่อเรื่องเพศ ร้อยละ 73.1 กลุ่มตัวอย่างมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์เรื่องเพศอยู่ระดับปานกลาง ร้อยละ 85.5 และมีพฤติกรรมทางเพศเหมาะสม ร้อยละ 69.4 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น ได้แก่ เพศชาย (r=-.133, p<.001) อายุ (r=.063, p=.023) การเข้าใช้สื่อเรื่องเพศ (r=-.074, p=.007) การเข้าใช้สื่อต่อสัปดาห์ (r= -.096, p=.004) การวิเคราะห์สื่อ (r=.122, p<.001) การประเมินสื่อ (r=.122, p<.001) การแบ่งปันสื่อ (r=270, p<.001) และการรู้เท่าทันสื่อโดยรวม (r=312, p<.001) การศึกษาพบผลของสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อเรื่องเพศที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มทักษะของวัยรุ่นในการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์
 คำสำคัญภาษาไทย รู้เท่าทันสื่อ,สื่อทางเพศ,พฤติกรรมทางเพศ,วัยรุ่นไทย
 Abstract
The aim of this cross-sectional descriptive study. This study was to examine effects of social media on sexual behaviors among Thai adolescents. A multistage random sampling was used to recruit 1,321 adolescents from five universities throughout Thailand. Data was collected using online questionnaire. Descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient at 95% were used to analyze the data.
 
The results revealed that 73.1 of university student are female, 99.5% had access to social media, 73.1% had access to sexual media, 85.5% had sexual media literacy were moderate level, and 69.4% had sexual behaviors were good level. The factors related to sexual behaviors were male (r=-.133, p<.001), age (r=.063, p=.023), the access to sexual media (r=-.074, p=.007), the access to social media per week (r= -.096, p=.004), media analyzed (r=.122, p<.001), media evaluated (r=.122, p<.001), media shared (r=270, p<.001), and sexual media literacy (r=312, p<.001). The results proved that effects of social media were significantly associated with sexual behaviors in adolescents. The findings suggested that stakeholders should promote learning, and appropriate sexual media literacy to enhance adolescents’ skills in the access to social media.
 Keyword media literacy,sexual media,sexual behaviors,Thai adolescents
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565