รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Factors associated with stress among motorcycle taxi drivers in Muang District, Nakhon Pathom Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นายมนัส รงทอง , นางสาวไอยเรศ บุญเกิด,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Manus Rongthong , Aiyaret Boonkerd ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
          การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross – sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 100 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการทำงาน ข้อมูลด้านสุขภาพ และแบบสอบถามความเครียดในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง มากที่สุด ร้อยละ 62 รองลงมาคือระดับรุนแรง ร้อยละ 20 และระดับปานกลาง ร้อยละ 18 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ พบว่า โรคประจำตัว (r= - 0.229, p = 0.022) มีความสัมพันธ์กับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 สำหรับตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ เพศ (r= 0.038, p = 0.708) อายุ (r= - 0.074, p = 0.465) ระดับการศึกษา (r= 0.064, p = 0.527) สถานะทางการเงิน (r= 0.025,  p = 0.802) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (r= - 0.074, p = 0.465) ประสบการณ์การทำงาน (r= 0.127, p = 0.208) จำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน (r= 0.040, p = 0.691) การสูบบุหรี่ (r= - 0.135, p = 0.181) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (r= - 0.056, p = 0.578) ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ผลการศึกษานี้สามารถนำมาเป็นแนวทางในการเฝ้าระวัง ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากความเครียด ต่อไป
 คำสำคัญภาษาไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ความเครียด, ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง
 Abstract
            This cross-sectional study was to find the stress levels and factors associated with stress among 100 motorcycle taxi drivers in Muang District, Nakhon Pathom Province. Data were collected by using personal questionnaire, working questionnaire, health questionnaire and SPST-20 questionnaire during in the past 6 months and were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and the Pearson correlation coefficient.
            The study found that motorcycle taxi drivers had higher levels (62.0%), severe level (20%) and moderate level (18.0%) of stress (respectively). Only one factor significantly associated with stress (p <0.05) was chronic disease (r= - 0.229, p = 0.022) and other factors such as gender (r= 0.038, p = 0.708), age (r= - 0.074, p = 0.465), education level (r= 0.064, p = 0.527), financial status (r= 0.025, p = 0.802), income per month              (r= - 0.074, p = 0.465), working experience (r= 0.127, p = 0.208), working hours per day, (r= 0.040, p = 0.691), smoking history (r= - 0.135, p = 0.181), and alcohol drinking history (r= - 0.056, p = 0.578) were not associated with stress. These findings may be the health information in promotion, prevention, surveillance, and control of hazards from stress among motorcycle taxi drivers in the future.
 Keyword Factors associated, Stress, Motorcycle taxi drivers
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565