รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ชื่อบทความภาษาไทย |
เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Events that cause stress among students of Surat Thani Rajabhat University Under the Covid-19 epidemic situation |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นางสาวพนิดา ชูศักดิ์ , นางสาวภานรินทร์ เทพบุตร์, นางสาวอภิรดี คุ้มจันทร์, นางสาว นุชนาถ จันทะเสน , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Panida Chusak ,
Panarin Thepphabut,
Apiradee Kumjan,
Nucchanat Jantasen, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยใช้วิธีการวิจัยแบบ เชิงสำรวจแบบหาความสัมพันธ์ (Survey correlational research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาธารณสุขชุมชนชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 132 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ การกำหนดขนาดตัวอย่างกรณีทราบจำนวนประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ใช้ เลือกใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) ได้แก่ อัตราส่วนร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่(Frequency) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อทดสอบสมมติฐานของงานวิจัย โดยใช้สถิติ ไคสแควร์ (Chi-Square) ผลวิจัยพบว่าผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 94.7 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 87.1 อายุระหว่าง 20-21 ปี ร้อยละ 60.6 ระดับการศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 42.4 เกรดเฉลี่ยตั้งแต่3.01 ขึ้นไปร้อยละ 56.1 ประวัติการมีโรคประจำตัวไม่มีร้อยละ 91.7 น้ำหนักระหว่าง41-60 ร้อยละ64.4 ส่วนสูงระหว่าง151-160 ร้อยละ 45.4 จำนวนสมาชิกในครอบครัว4-6 ร้อยละ78.8 การพักอาศัยกับพ่อแม่ร้อยละ 90.9 โดยระดับความเครียดอยู่ในเกณฑ์เครียดปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 2.59ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ 1)ปัจจัยส่วนบุคคล (ระดับการศึกษา P=0.014) 2.)ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ(รายได้ภายในครอบครัวเพียงพอต่อรายจ่าย ความกดดัน ครอบครัวตกงาน เครือญาติเคยได้รับเชื้อโควิด-19 P=0.008) 3.)ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบ New normal(การบริโภคอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี P= 0.02) 4.)ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(หน่วยคัดกรองโควิด-19 ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 P=0.016 )
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ความเครียด,สังคม,เศรษฐกิจครอบครัว |
Abstract |
The purpose of this research was to study stress levels and to study factors related to stress among students. Surat Thani Rajabhat University using a research method Survey correlational research The sample group consisted of 132 community public health students, grade 1-3. The sample size was determined by using Determining the sample size in case of knowing the population The tools used in the research were The statistics used in the data analysis were selected and used by descriptive statistics such as percentage ratio, frequency, arithmetic mean, and standard deviation, and statistical statistics. Inferential Statistics to test research hypotheses using Chi-Square statistics. The results showed that the results showed that Most of the samples were female 94.7%, Buddhist 87.1%, age between 20-21 years old, 60.6%, first year education level 42.4%, GPA from 3.01 or higher, 56.1%, no history of underlying disease 91.7%. Weight between 41-60 64.4 percent, height between 151-160 percent 45.4% number of family members 4-6 percent 78.8 percent living with parents 90.9% stress level was moderate stress with an average of 2.59 factors. There was a relationship with stress among students at Surat Thani Rajabhat University. Under the situation of the Covid-19 epidemic, the statistical significance of 0.05 were 1) personal factors. (Education level P=0.014) 2.) Family and economic factors (family income is sufficient for expenses, pressure, family unemployment) Relatives have been infected with COVID-19 P=0.008) 3.) New normal lifestyle factors (food consumption lifestyle behavior and internet technology P = 0.02) 4.) Social and environmental factors (Covid-19 screening unit Deaths from COVID-19 P=0.016 )
|
Keyword |
stress,society,family economy |
กลุ่มของบทความ |
สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|