รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัส โควิด-19 ของประชาชนอายุ 18-60 ปี รอบมหาวิทยาลัยพะเยา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
IMPACT OF COVID-19 VIRUS SPREAD ON COVID-19 DISEASE PEVENTION BEHAVIOR AMONG PEOPLE 18-60 YEARS OLD IN MAE KA TAMBOL, MAUNG PHAYAO DISTRICT, PHAYAO PROVINCE |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.อนุกูล มะโนทน , ผศ.ดร.สมคิด จูหว้า, อ.ดร.สุทธิชัย ศิรินวล, ผศ.ดร.สมชาย จาดศรี, อ.ตวงพร พิกุลทอง, นางสาวจตุพร แสงตุ๊, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Anukool Manoton ,
Somkid Juwa,
Suthichaร Sirinual,
Somchai Jadsri,
Tuangphorn Phikulthong,
Jatuporn Sangtu, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและพฤติกรรมการป้องกันโรคโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนอายุ 18-60 ปี ในตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาอายุ 18-60 ปี สุ่มแบบบังเอิญ ได้ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 375 คนคำนวณกลุ่มตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาความตรงตามเนื้อหาและตรวจสอบความเที่ยงตามวิธีของครอนบาค แอลฟ่า ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นโดยรวม 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิง ได้แก่ Chi-Square test และ Fisher’s Exact Test
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.3 มีอายุในช่วง 18-30 ปี จำนวน 352 คน คิดเป็นร้อยละ 93.9 นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 344 คน คิดเป็นร้อยละ 91.7 โสด จำนวน 346 คน คิดเป็นร้อยละ 92.3 การศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 93.3 อาชีพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา จำนวน 311 คน คิดเป็นร้อยละ 82.9 มีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.8
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 ด้านความเครียด ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการเรียน ด้านการทำงาน ด้านการคมนาคม ด้านการท่องเที่ยว ด้านการจ้างงาน อยู่ในระดับสูง พฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ประกอบ ด้วยระดับการศึกษา อาชีพ ผลกระทบด้านความเครียด ด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการเรียน ด้านการท่องเที่ยว ด้านการคมนาคม และ ด้านการจ้างงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
โรคโควิด19 ผลกระทบ พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 |
Abstract |
ABSTRACT
This survey aimed to study impacted of the covid-19 virus spread, prevention behavior to covid-19 and factors related to the behavior among population age 18-60 years old in Maeka sub-district, Muang district, Phayao province. The sample of 374, calculated based on Krejcie and Morgan, was accidental sampling. Data collected by questionnaires approved by three experts and test reliability as 0.93 was analyzed by descriptive statistics, I.e. percentage, mean and standard deviation and reference statistics as Chi Square test and Fisher’s Exact test.
The results found that most of sample were female 68.3%, age 18-30 years old as 93.9%, Buddhism 91.7%, single 92.3%, finished bachelor degree 93.3%, most of them was students 82.9% and high knowledge about Covid-19 52.8%.
The impact of Covid-19 virus spread on stress, food consumption, exercise, studying, working, transportation, travelling, and employing were high level. Prevention behavior of Covid-19 was estimated high level. The factors related to covid -19 disease prevention behavior were studying, occupation, stress, food consumption, exercise, studying, transportation, travelling, and employing as significant at .05.
|
Keyword |
COVID-19, Impact, prevention of COVID-19 |
กลุ่มของบทความ |
สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|