รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การสุขาภิบาลตลาดนัด ในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโคโรนา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Market Sanitation in the Situation of the Corona Virus Epidemic, Chonburi Province |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.ภารดี อาษา , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Paradee Asa , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินตลาดนัดทางด้านกายภาพเพื่อยกระดับตลาดนัดน่าซื้อ และแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา รวมทั้งตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารที่จำหน่ายในตลาดนัดได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ และกรดซาลิซิลิก ประชากรคือ แผงลอยที่จำหน่ายอาหารในตลาดนัดของตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
ผลการศึกษาพบว่า เกณฑ์ทางด้านกายภาพเพื่อยกระดับตลาดนัดน่าซื้อผ่านเกณฑ์ 18 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 90.0 ข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีสองเรื่องได้แก่ อาหารปรุงสำเร็จไม่มีการปกปิดให้มิดชิด และพบสารปนเปื้อนในอาหาร ส่วนการประเมินการปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าตลาดนัดผ่านเกณฑ์ 18 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 85.7 ข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์มีสามเรื่องได้แก่ การไม่จัดทำป้ายราคาสินค้า อาหารปรุงสำเร็จไม่มีการปกปิดให้มิดชิด และไม่มีอุปกรณ์หรือถาดสำหรับรับเงินจากผู้ซื้อ การตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในอาหารจาก 40 ร้าน ได้ตัวอย่างทั้งหมด 69 ตัวอย่าง พบว่า ไม่มีสารปนเปื้อน 66 ตัวอย่าง พบตัวอย่างอาหารที่มีสารปนเปื้อนอยู่ 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 4.3 ได้แก่ สารบอแรกซ์หนึ่งตัวอย่างในหมูบด สารฟอร์มาลีนหนึ่งตัวอย่างในหมึกกรอบ และพบสารฟอกขาวหนึ่งตัวอย่างในสไบนางหรือผ้าขี้ริ้ว ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือการเฝ้าระวังและติดตามแผงลอยจำหน่ายอาหารที่่พบสารปนเปื้อน รวมถึงการนำผลการศึกษาไปให้คำแนะนำและปรับปรุงตลาดนัดต่อไป
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การสุขาภิบาลตลาด, สถานการณ์ไวรัสโคโรนา |
Abstract |
The objective of this study was to assess the physical market to enhance the standardized market and public health practices to prevent the spread of the corona-virus as well as to check for contaminants in food sold in the market, such as borax, formaldehyde, sodium-hydrosulfite and salicylic acid. The market in this research was located in Saensuk Subdistrict, Mueang District, Chonburi Province.
The results showed physical criteria to enhance the standardized market, passed 18 criteria, representing 90.0%. There were two items that did not qualify as cooked food was not completely concealed and found contaminants in food. The public health practice assessment for the prevention of the spread of the coronavirus 2019, found that the marketplace passed 18 criteria, representing 85.7%. There were three items that did not qualify as did not produce price tags, cooked food was not completely concealed and there were no device or tray for receiving money from the buyer. A total of 69 samples were collected for food contaminants in 40 food stalls and found no contaminants in 66 samples. Three samples of food containing contaminants were found, representing 4.3%, one sample of borax in ground pork, one sample of formaldehyde in crispy squid and one sample of sodium-hydrosulfite in rumens. The research recommendation are surveillance and monitoring food stalls where contaminants were detected and including using the results of the study to give advice and improve the market further.
|
Keyword |
Market sanitation, Corona virus situation |
กลุ่มของบทความ |
สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|