รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การบำบัดน้ำทิ้งจากสิ่งปฏิกูลด้วยสารโคแอกกูแลนต์ชีวภาพ
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Sewage water from excreta treatment with biocoagulant
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) ผศ.ดร.รจฤดี โชติกาวินทร์ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) rotruedee Chotigawin ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การบำบัดน้ำทิ้งปฏิกูลในปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี การตกตะกอนด้วยสารโคแอกกูแลนต์ชีวภาพเป็นวิธีที่ปลอดภัยและราคาถูกกว่าการใช้สารเคมี การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าพีเอชที่เหมาะสม ปริมาณของสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่เหมาะสม และระยะเวลาที่เหมาะสมในการบำบัดความขุ่นในน้ำทิ้งจากสิ่งปฏิกูลด้วยสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่สกัดด้วยสารละลายอะซิโตน โดยเก็บตัวอย่างจากน้ำทิ้งจากสิ่งปฏิกูลที่ผ่านจากลานกรองทรายของเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ผลการศึกษาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากเปลือกมังคุดสามารถบำบัดความขุ่นได้ดีที่สุด ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 8 คิดเป็น ร้อยละ 62.15±31.22 ซึ่งสามารถสังเกตเห็นลักษณะของตะกอนที่บำบัดได้ชัดเจน และถ้าพีเอชน้อยกว่า 8 จะไม่พบการรวมตัวของตะกอนที่เกิดขึ้น ปริมาณของสารสกัดจากเปลือกมังคุดที่เหมาะสมที่สุด เท่ากับ12 มิลลิลิตรต่อลิตร (v/v) สามารถบำบัดความขุ่นได้ ร้อยละ 67.50±4.25 และเมื่อเพิ่มปริมาณสารสกัดลงในตัวอย่างน้ำทิ้งสิ่งปฏิกูล ร้อยละการบำบัดความขุ่นมีแนวโน้มลดลง สำหรับระยะเวลาสัมผัส พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดความขุ่นได้ดีที่สุดที่เวลา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 95.45+6.23 และเมื่อเพิ่มระยะเวลาสัมผัสประสิทธิภาพการบำบัดความขุ่นมีแนวโน้มใกล้เคียงกับที่ระยะเวลาสัมผัส 60 นาที
 คำสำคัญภาษาไทย น้ำทิ้งจากสิ่งปฏิกูล,สารสกัดจากเปลือกมังคุด,สารโคแอกกูแลนต์ชีวภาพ,การตกตะกอน
 Abstract
Currently, there are many method of sewage water treatment. The coagulation with natural coagulant is safer and cheaper than chemical coagulant. This study is the experimental research design which aims to determine the appropriate pH value, the appropriate concentration of mangosteen peel extracts and the appropriate contact time for the effectiveness of sewage treatment with acetone mangosteen peel extracts.  The samples were collected from sewage water which passed through sand filter process of Saen Suk Municipality, Chonburi. The data were analyzed using descriptive statistics. The results found that mangosteen peel extract at pH 8 has the highest efficiency to treat turbid water as 62.15±31.22 percent and showed flocculation, apparently. A lower pH would inhibit flocculation. The appropriate amount of mangosteen peel extracts was 12 ml per liter (v/v) as 67.50±4.25 percent. A higher concentration, the removal efficiency of turbidity tends to decrease. The contact time at 60 minutes found that the turbidity removal efficiency of sewage water gradually increased as 95.45+6.23 percent. When increased contact time, the removal efficiency is closely with at 60 minutes.
 Keyword sewage water,mangosteen extraction,bio-coagulant,coagulation
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565