รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14
(มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์
สาขา วิทยาศาสตร์กายภาพ

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลกระทบของขนาดอนุภาคเซลลูโลสต่อฟิล์มชีวภาพจากเปลือกลองกอง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Effects of Cellulose Particle Sizes on Biofilm from Longkong Peel
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวสายรุ้ง คำตรง, รศ.ดร.ภาณุพงศ์ ใจบาล ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Saryrung Khumtrong, Panupong Jaiban ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของขนาดอนุภาคเซลลูโลสจากเปลือกลองกองบนฟิล์มชีวภาพโดยขนาดอนุภาคถูกแบ่งออกเป็น 355 125 และ 75 ไมโครเมตร เทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD) จะถูกใช้ในการยืนยันเฟสของเซลลูโลสโดยในบางตัวอย่างจะพบเฟสทุติยภูมิซึ่งเฟสทุติยภูมิที่ปรากฏขึ้นจะไม่ส่งผลต่อกระบวนการเตรียมฟิล์มชีวภาพ การวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอินฟราเรดสเปคโตรสโคปี (FT-IR) ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของหมู่คาร์บอกซิลและไฮดรอกซิลในผงคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (CMC) ที่ถูกสังเคราะห์จากอนุภาคเซลลูโลสขนาด 75 ไมโครเมตร ลักษณะสัณฐานวิทยาของผง (SEM) และองค์ประกอบทางเคมีของตัวอย่าง (EDS) พบว่าที่ขนาดอนุภาคเซลลูโลส 75 ไมโครเมตร ทำให้เกิดพื้นผิวเรียบและเป็นเนื้อเดียวกันของฟิล์มชีวภาพซึ่งการลดลงของขนาดอนุภาคทำให้เกิดความสามารถในการละลายน้ำของ CMC สูง ส่งผลให้ฟิล์มชีวภาพมีคุณภาพสูงเช่นกันและการดูดกลืนแสงของฟิล์มชีวภาพที่ขนาดอนุภาคทั้งหมดไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ในที่นี้ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าฟิล์มชีวภาพจากเปลือกลองกองที่มีคุณภาพสูงสามารถผลิตได้โดยใช้อนุภาคเซลลูโลสขนาด 75 ไมโครเมตร ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพทางเลือกอีกชนิดหนึ่ง
 
 คำสำคัญภาษาไทย เปลือกลองกอง ,คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส ,ฟิล์มชีวภาพ
 Abstract
The effects of longkong cellulose particle sizes on its biofilm were investigated. The particle sizes were divided into 355, 125 and 75 µm. The X-ray diffraction patterns confirmed the cellulose phase with the secondary phase in some sample. The second phase did not affect biofilm preparation. The FTIR analysis suggested a strong presence of carboxyl and hydroxyl groups in carboxymethylcellulose (CMC) powder, which synthesized from the cellulose particle size 75 µm. The SEM and EDS observations revealed that the cellulose particle size of 75 µm produced a smooth surface and homogeneity of biofilm. The decrease in particle size induced significantly the high water solubility of CMC and high reaction surface area, leading to high quality of biofilm. The light absorption of all biofilms was not different significantly. Herein, the result suggested that a high quality of biofilm from longkong peel could be produced using the cellulose particle size 75 µm, which may be alternative bioproduct in near future.
 Keyword longkong peel, carboxymethylcellulose, biofilm
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 7 - 8 กรกฎาคม 2565