รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 รูปแบบออนไลน์สาขา การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
ชื่อบทความภาษาไทย |
ศาสตราวุธแห่งนักรบศรีทวารวดีจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยทวารวดี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Weapons of Sri Dvaravati warriors from historical evidence in the Dvaravati period |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ดร.สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
SUPITCHAR JINDAWATTANAPHUM , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ศาสตราวุธ หมายถึง ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง อาวุธ่าง ๆ ศาสตราวุธหรืออาวุธจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของนักรบไทยตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณ เป็นหนึ่งในประดิษฐกรรมของมนุษยชาติ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการผสมผสานทางด้านวัฒนธรรม คติความเชื่อ การสร้างสรรค์รูปทรง และขั้นตอนที่ใช้ในการผลิตของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เกิดจากการคิดค้นทางภูมิปัญญาของชนพื้นเมือง
ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของชนต่างชาติ ที่ส่งต่อความเจริญทางด้านโลหะกรรม มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ปรากฏบ่งชี้ว่าศาสตราวุธโบราณที่พบในประเทศไทย เริ่มมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา ในสมัยทวารวดี มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ยืนยันถึงการใช้ศาสตราวุธ อันได้แก่ ดาบ มีด และหอก โดยปรากฎในงานประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคลสมัยทวารวดี ที่พบในจังหวัดนครปฐม และลวดลายภาชนะดินเผารูปนักรบ ที่พบที่เมืองโบราณจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ โดยพิจารณาจากการแต่งกายและอาวุธที่ถืออยู่ในมือ สันนิษฐานได้ว่าเป็นรูปนักรบ หลักฐานดังกล่าวสามารถยืนยันถึงการมีอยู่ของระบบกษัตริย์ และนักรบในสมัยทวารวดี จากการศึกษาพบว่ารูปแบบของศาสตราวุธสมัยทวารวดี เช่น ดาบ ได้รับอิทธิพลจากดาบจีนโบราณ ที่เรียกว่า “หวนโส่วตาว” หรือ “ดาบท้ายห่วง” หรือดาบใบตรงที่เรียกว่า “เหิงเตา”ที่นิยมใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และลวดลายของศาสตราวุธอาจได้รับคติอิทธิพลความเชื่อแบบเทวราชาและระบบความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาในสมัยทวารวดี ดั่งปรากฎในส่วนกระบังดาบ ที่เป็นสัญลักษณ์มงคล อาทิ บัว สังข์ หงส์ และสิงห์ นอกจากนี้ศาสตราวุธสมัยทวารวดี อาจถูกใช้เป็นเครื่องแสดงถึงฐานันดรศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของ ดังนั้นรูปแบบของศาสตราวุธในสมัยทวารวดี อาจไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์การใช้งานแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่แฝงไว้ซึ่งอิทธิพลของต่างชาติ เช่น อินเดีย และจีน อีกทั้งได้รับคติความเชื่อที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดรูปแบบและจำลองสัญลักษณ์ศาสตราแห่งเทวะ หรืออาวุธแห่งเทพ ที่มอบให้แก่มวลมนุษย์เพื่อทำลายล้างศัตรู เพื่อชัยชนะต่อภูติผีปีศาจ และความกลัว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าศาสตราวุธที่ดีย่อมนำมาซึ่งชัยชนะแก่ผู้ครอบครอง ศาสตราวุธจึงเป็นวัตถุแห่งความเชื่อ ความศรัทธา ความผูกพัน และพิธีกรรมในฐานะสิริมงคลแห่งชีวิตนั่นเอง
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ศาสตราวุธ,สมัยทวารวดี,นักรบ,หลักฐานทางประวัติศาสตร์ |
Abstract |
Weapons refer to sharp objects that can be stabbed, various weapons. Weapons or weapons are therefore important tools of Thai warriors since ancient times. It is one of the inventions of humanity that reflects the combination of culture, beliefs, shape creation. and the steps used in the production of each ethnic group resulting from the invention of indigenous wisdom Influenced by foreign cultures that pass on the prosperity of the metal karma which has evolved continuously and for a long time. There is historical and archaeological evidence that indicates that ancient weapons were found in Thailand. It began to develop since prehistoric times. Since around the 1st Buddhist century onwards. In the Dvaravati period Archaeological evidence has been discovered that confirms the use of weapons such as swords, knives and spears, which appear in stucco sculptures of people in the Dvaravati period. found in Nakhon Pathom Province and warrior-shaped pottery patterns found in the ancient city of Chan Sen Nakhon Sawan Province by considering the dress and weapons in hand It is assumed that the figure is a warrior. Such evidence can attest to the existence of the monarchy. and warriors in the Dvaravati period.
From the study, it was found that the styles of weapons of the Dvaravati period, such as swords, were influenced by ancient Chinese swords called "Huan Shuo Tao" or "sword after the hoop" or a straight blade called "Hengdao" that has been used since the Han Dynasty and the patterns of weapons may have been influenced by the devaracha beliefs and religious belief systems of Brahmins and Buddhism in the Dvaravati period. that appears in the shield which are auspicious symbols such as lotus, conch, swan and lion. In addition, weapons in the Dvaravati period may be used to represent the dignity of the owner Therefore, the form of weapons in the Dvaravati period that appeared may not be created for the sole benefit of use but has hidden foreign influences such as India and China in addition, the beliefs that arise from the transmission of patterns and simulating symbols of the gods have also been received or the weapon of the gods given to mankind to destroy the enemy for the victory against demons and fear. Therefore, it can be said that good weapons bring victory to the possessor. Weapons are therefore objects of belief, faith, ties, and rituals as the auspiciousness of life.
|
Keyword |
weapons,Dvaravati,warrior,historical evidence |
กลุ่มของบทความ |
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
7 - 8 กรกฎาคม 2565 |
|
|